ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ ๓/๒๕๖๖ เรื่องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน โดยคาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนกลางและทะเลอันดามันตอนบน ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 12 – 14 พฤษภาคม 2566 ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำนองระบายไม่ทัน ในช่วงวันที่ 12 – 14 พฤษภาคม 2566 ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอวิเชียรบุรี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอคำม่วง ท่าคันโท ยางตลาด และห้วยเม็ก) จังหวัดขอนแก่น...
อ่านต่อ#สามองค์กรร่วมแบ่งปันน้ำ
ยามเมื่อฝนโปรยปรายลงมาอย่างต่อเนื่องจนน้ำเริ่มขังในกระทงนา เสียงกบ อึ่งอ่าง เขียดร้องกันระงมนั่นหมายถึงการย่างเข้าสู่ฤดูฝนหรือการเริ่มต้นฤดูการผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรไทย ประเทศไทยมีทั้งพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานซึ่งนับได้ว่าเป็นพื้นที่การเกษตรที่มีความมั่นคงด้านการผลิตเนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อการผลิตโดยได้รับการสนับสนุนน้ำจากเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำที่มีการเก็บสะสมน้ำในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา ในขณะที่พื้นที่อีกประเภทหนึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานหรือพื้นที่การเกษตรอาศัยน้ำฝนซึ่งยังคงมีความสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงด้านการผลิตในบางปี ทำไมถึงมีความเสี่ยงเช่นนั้นเรามาติดตามกันต่อไป พื้นที่การเกษตรอาศัยน้ำฝนก็สมชื่ออยู่แล้ว หากปีใดเทวดาไม่เป็นใจไม่ประทานน้ำฝนมาให้อย่างต่อเนื่อง เรียกว่าให้ๆหยุดๆก็จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเกิดความเสียหายได้ ยิ่งในปีนี้มีการคาดการณ์จากหลายสำนักรวมทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาของไทยและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติว่าจะเข้าสู่สถานการณ์เอลนีโญและอาจจะลากยาวไปในปีหน้าอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ ดังนั้นพื้นที่การเกษตรอาศัยน้ำฝนที่ไม่มีแหล่งน้ำสำรองเป็นของตนเองในช่วงฝนทิ้งช่วงย่อมมีความเสี่ยงต่อความเสียหายของผลผลิตเนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ถึงแม้จะมีการทำฝนหลวงที่ดำเนินการตามตำราฝนหลวงพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ฝนทิ้งช่วงก็ตาม แต่การปฏิบัติการฝนหลวงนั้นเป็นการเลียนแบบธรรมชาติจึงต้องอาศัยเงื่อนไขของสภาพอากาศเป็นตัวตั้ง หากวันใดเงื่อนไขของสภาพอากาศไม่เอื้อต่อการเกิดฝนแล้วโอกาสที่จะขึ้นบินไปบังคับเทวดาก็จบลง การบริหารจัดการน้ำในปีนี้จึงมีความท้าทายเป็นอย่างยิ่งเพราะน้ำไม่ได้มีความสำคัญต่อภาคการเกษตรเท่านั้น น้ำยังมีความสำคัญต่อการดำรงของสิ่งมีชีวิตต่างๆทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรม การรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ในขณะเดียวกันทุกคนเข้าใจว่า”น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติน้ำจึงเป็นสมบัติของทุกคนๆมีสิทธิ์ที่จะใช้น้ำ” จากพื้นฐานความคิดของทุกคนที่คิดว่าน้ำเป็นสมบัติของทุกคนนั้นจึงทำให้การบริหารจัดการน้ำเชิงบูรณาการจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสภาวะที่มีปริมาณน้ำอย่างจำกัดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้เกิดศึกแย่งชิงน้ำมิฉะนั้นบรรยากาศบ้านเมืองเราคงยิ่งร้อนระอุมากขึ้นไปกว่านี้ อย่างไรก็ตามการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนเหมือนจะเป็นเพียงแค่อุดมคติที่หลายๆคนคิด แต่เราก็มีเครื่องมือที่จะช่วยให้เกิดการส่งเสริมการบูรณาการหรือทำให้ฝันนั้นเป็นจริงได้ นั่นคือพรบ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ในส่วนองค์กรผู้ใช้น้ำ เรื่องราวเกี่ยวกับองค์กรผู้ใช้น้ำได้ถูกกล่าวอยู่ในพรบ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ตามมาตรา 38 และ39 และยังมีประกาศกฎกระทรวงที่ออกโดยนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติมอีกด้วย โดยองค์กรผู้ใช้น้ำมี 3...
อ่านต่อรับสมัครตำแหน่ง Head of Regional Flood Management and Mitigation Center
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยและเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานตามกรอบความร่วมมือ MRC ประสงค์จะรับสมัครตำแหน่งบุคลากรในตำแหน่ง Head of Regional Flood Management and Mitigation Center จำนวน 1 อัตราซึ่งสามารถดาวน์โหลด และดูรายละเอียด TOR ดังนี้ Head of Regional Flood Management and Mitigation Center จำนวน 1 อัตรา: TOR โดยใบสมัครที่ครบสมบูรณ์ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ และต้องประกอบด้วย Cover letter ระบุตำแหน่งที่ประสงค์สมัคร CV, ประวัติส่วนบุคคลและรูปถ่าย วุฒิบัตร...
อ่านต่อรับสมัครตำแหน่งผู้ช่วยผู้ประสานงานด้าน Environment Management Division (ED) จำนวน ๑ อัตรา
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยและเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานตามกรอบความร่วมมือ MRC ประสงค์จะรับสมัครตำแหน่งผู้ช่วยผู้ประสานงานด้าน Environment Management Division (ED) จำนวน ๑ อัตรา ซึ่งสามารถดาวน์โหลด เเละดูรายละเอียด TOR ดังนี้Assistant of ED จำนวน ๑ อัตรา: TOR โดยใบสมัครที่ครบสมบูรณ์ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ และต้องประกอบด้วย Cover letter ระบุตำเเหน่งที่ประสงค์จะสมัคร (โดยใส่ Division of ED) CV ประวัติส่วนบุคคลและรูปถ่าย วุฒิบัตรหรือหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง MRC Personal History Form Download...
อ่านต่อประกาศผลการคัดเลือกบุคคลากรเพื่อเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคคลากรของประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขง ประจำปี พ.ศ. 2566
ผลการคัดเลือกบุคคลากรเพื่อเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคคลากรของประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขง ประจำปี พ.ศ. 2566 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ มีดังนี้1. Junior Riparian Proferssional (JRP) นางสาวกติกา พรรณบัวตูม (Ms.Katika Punbuatoom) 2. Associate Modeller (AM) นายกฤษฎา นาแหลม (Mr.Kisada Nalam) 3. Associate Flood and Drought Forecater (AFDF) นางสาวกัณฐ์ฐณัฐ กรกรัณย์พล (Ms. Gunnranutt Konkharanpon)
อ่านต่อการจัดกิจกรรมเนื่องในวันน้ำโลก ปี 2566 “Be the change you want to see in the world”
ข่าวและบทความประชาสัมพันธ์ เรื่องที่ 2 การจัดกิจกรรมเนื่องในวันน้ำโลก ปี 2566 “Be the change you want to see in the world” “Accelerating Change” หรือ “เร่งการเปลี่ยนแปลง” คือประเด็นสำคัญที่องค์การสหประชาชาติกำหนดเนื่องในวันน้ำโลก ประจำปี 2566 โดยรณรงค์ให้ “Be the change you want to see in the world.” หรือ “ร่วมกันเปลี่ยนแปลง สิ่งที่คุณ อยากเห็น ในโลกใบนี้”...
อ่านต่อรายงานประจำปี2565 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
รายงานประจำปี2565 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อ่านที่นี่
อ่านต่อความเป็นมาของวันน้ำโลก และ Theme วันน้ำโลกปี 2566
โลกของเราประกอบด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นพื้นน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน หรือร้อยละ 75และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน หรือร้อยละ 25 น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ต่างๆ “น้ำ” เป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืช คนเรามีชีวิตอยู่โดยขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ในปัจจุบันภาวะการขาดแคลนน้ำและปัญหามลพิษในน้ำมีอัตราสูงขึ้นมาก เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของประชากรมนุษย์ ส่งผลต่อความต้องการการใช้น้ำ กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง อย่างน้อยที่สุด 1 เดือนต่อปี ผลกระทบของมลพิษในน้ำ และการขาดแคลนน้ำ ส่งผลถึงความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดของน้ำ โดยในปี 2017 มีการรายงานว่า ประชากรโลกกว่า 3 พันล้านคนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด...
อ่านต่อรับสมัครที่ปรึกษาระดับประเทศภายใต้โครงการ 2022/23 MRC – KDI Knowledge Sharing Program (KSP)
ด้วยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยและเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานตามกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง ประสงค์จะรับสมัครที่ปรึกษาระดับประเทศภายใต้โครงการ 2022/23 MRC – KDI Knowledge Sharing Program (KSP) ปฏิบัติงานวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวเกาหลี โดยมีระยะเวลาทำงาน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน 2566ซึ่งมีหน้าที่บทบาทภารกิจเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการบริหารจัดการอุทกภัยและภัยแล้งโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยสามารถดูรายละเอียดได้ตามเอกสารแนบท้าย ตำแหน่งที่ปรึกษาระดับประเทศ โดยการสมัครที่ครบสมบูรณ์ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ และต้องประกอบด้วย ประวัติส่วนบุคคลพร้อมรูปถ่าย (CV) วุฒิบัตร ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ เช่น TOEIC, TOEFL, IELTS จดหมายแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ (Cover Letter) หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิธีการคัดเลือก หน่วยงาน...
อ่านต่อสทนช. เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และตักบาตร วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่9) วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565
วันนี้ (5 ธันวาคม 2565) เวลา 7.30 น. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สทนช. เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 189 รูป และพิธีวางพานพุ่มและถวายบังคมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่9) วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565 โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เป็นประธานในพิธีฯ ณ บริเวณพิธีท้องสนามหลวง
อ่านต่อ