สทนช. ระดมความคิดเห็นทุกภาคส่วนกรณีเขื่อนสานะคาม สปป.ลาว เตรียมรวบรวมความเห็นของไทย เสนอ MRC
สทนช. ลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เปิดเวทีให้ข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม สปป.ลาว เป็นครั้งที่ 3 สะท้อนข้อห่วงกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ป้องกันผลกระทบข้ามพรมแดนต่อจังหวัดริมแม่น้ำโขง เตรียมรวบรวมจัดทำความเห็นของไทยอย่างเป็นทางการ เสนอต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง วันนี้ (21 ม.ค. 68) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานเปิดเวทีให้ข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม สปป.ลาว ครั้งที่ 3 โดยมี...
อ่านต่อ“รองนายกฯ ประเสริฐ” เรียกประชุม กนช. ประเดิมต้นปี 68 ไฟเขียวโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย พร้อมสั่งหน่วยงานป้องกันเชิงรุก ลดความเสี่ยงขาดแคลนน้ำฤดูแล้งนี้
“รองนายกฯ ประเสริฐ” เป็นประธานการประชุม กนช. ครั้งที่ 1/68 กำชับหน่วยงานป้องกันปัญหาภัยแล้งเชิงรุก ลดความเสี่ยงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ พร้อมเห็นชอบโครงการด้านทรัพยากรน้ำ ได้แก่ โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง แผนหลักการปรับปรุงแม่น้ำสาย และโครงการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองพัทยา มุ่งแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 68 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่...
อ่านต่อ“กฎหมายน้ำเพื่อความยั่งยืน”
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาในการบริหารทรัพยากรน้ำในหลายด้านเนื่องจากการดำเนินการมีหลายหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งต่างก็ดำเนินการเฉพาะส่วนของตนเอง ทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ แม้รัฐบาลจะได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ” (กนช.) เพื่อทำหน้าที่บูรณาการและบริหารทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบในทุกมิติแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีกฎหมายในการบูรณาการเกี่ยวกับการจัดสรร การใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษาการฟื้นฟู การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และสิทธิในน้ำ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบริหารทรัพยากรน้ำให้มีความประสานสอดคล้องกันในทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งวางหลักเกณฑ์ในการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำสาธารณะ ตลอดจนจัดให้มีองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งในระดับชาติ ระดับลุ่มน้ำ และระดับองค์กรผู้ใช้น้ำซึ่งสะท้อนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อร่วมกันบริหารทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้เกิด “พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ...
อ่านต่อ“รองนายกฯ ประเสริฐ” รับคำสั่งนายกฯ ลงพื้นที่ดูแลน้ำท่วมใต้ย้ำทุกหน่วยงานเร่งคลี่คลายสถานการณ์โดยเร็วที่สุด
นายกรัฐมนตรีห่วงใยชาวใต้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย มอบหมาย “รองนายกฯ ประเสริฐ” ลงพื้นที่ดูแลช่วยเหลือประชาชน เร่งคลี่คลายสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด พร้อมเตรียมป้องกันสถานการณ์ล่วงหน้า หลังคาดว่าจะยังมีฝนอีกระลอกช่วง 13 – 16 ธ.ค. นี้ วันนี้ (6 ธ.ค. 67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่อุทกภัยภาคใต้ ณ จังหวัดยะลา พร้อมด้วย...
อ่านต่อจากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที
สลิลธาราอารัญ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” คือพระปฐมบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานไว้ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ จากวันนั้นเป็นต้นมา ตลอดระยะเวลากว่า ๗๐ ปีที่ทรงครองราชย์ พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ทรงปฏิบัติ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ชัดถึงพระราชปณิธานในการทำตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับปวงชนชาวไทยได้อย่างแท้จริง และเชื่อว่าคนไทยทุกคนต่างรู้สึกเหมือนกันว่า พระองค์เปรียบเสมือน “เทวดาเดินดิน” ของพวกเรานั่นเอง...
อ่านต่อความวัวไม่ทันหาย…
ในชีวิตคนเราทุกคนล้วนต้องผ่านเรื่องราวมามากมาย ย่อมจะมีทั้งเรื่องบวกและเรื่องลบ แต่เวลาเจอเรื่องอะไรที่ลบๆ พร้อมๆ กันคนในยุคเก่าๆ มักจะพูดว่าความวัวไม่ทันหายความควายก็ดันมาแทรก ไม่รู้ว่าคนรุ่นใหม่จะพูดว่าอะไร? น้องๆ คนรุ่นใหม่ช่วยบอกที… สำหรับเรื่องลบๆ ที่เกิดจากการกระทำของตนเองก็คงต้องจำใจยอมรับ ทว่าเรื่องลบๆ ที่เกิดจากพวกพลังลบแล้วเราก็คงจะยอมรับยาก คงต้องมีการอุทานกันบ้างต่างๆ นานากับคนเหล่านั้น (รู้นะว่าจะอุทานว่าอะไร…) สำหรับผมเองก็ยังเคยอุทานเมื่อเจอกับผลการกระทำของพวกคนเลวที่อาจจะมีผลกระทบมาต่อตัวเรา ยิ่งกระทบต่อประเทศชาติด้วยแล้วก็คงอุทานดังกว่าเก่า…คงเข้าใจตรงกันนะครับ แล้วหากธรรมชาติเป็นตัวกระทำล่ะเราจะอุทานด่าหรือยอมรับสภาพไป ก็คงมีสองอย่างแน่นอน อย่างที่หนึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ก็คงด่าหน่วยงานกันฉ่ำ แต่ถ้ามันเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วก็คงต้องยอมรับสภาพคงไม่มีใครกล้าด่าฟ้าดินแน่นอนเพราะยิ่งด่าระวังจะเป็นไปตามปาก อ้าว!!! พูดยังไม่ทันขาดคำฟ้าผ่าเปรี้ยงลงมาเสียแล้ว...
อ่านต่อ“รองนายกฯ ประเสริฐ” ห่วงแล้งอีสาน ประเดิมลงพื้นที่โคราช เร่งขับเคลื่อนมาตรการแล้ง คุมเข้มแผนบริหารจัดการน้ำลำตะคอง สำรวจแหล่งน้ำต้นทุน/ป้องกันพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
“รองนายกฯ ประเสริฐ” ห่วงสถานการณ์ภัยแล้งพื้นที่อีสานตอนล่างปีนี้ ประเดิมลงพื้นที่ จ.นครราชสีมา เร่งขับเคลื่อน 8 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2567/68 สำรวจแหล่งน้ำต้นทุน จับตาพื้นที่เสี่ยงภัย กำชับแผนบริหารจัดการน้ำอ่างฯ ลำตะคอง เร่งหาแหล่งน้ำสำรองเพิ่มเติม บริหารจัดการน้ำในทุกมิติ โดยเฉพาะการอุปโภคบริโภค พร้อมเดินหน้าสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำอย่างยั่งยืน วันนี้ (4 พ.ย. 67) นายประเสริฐ...
อ่านต่อสทนช. รับลูก “รองนายกฯ ประเสริฐ” ประชุมหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ณ สุโขทัย จัดการมวลน้ำลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน เจ้าพระยาตอนล่าง ป้องกันผลกระทบพื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา
สทนช. รับข้อสั่งการรองนายกฯ ประเสริฐ ประชุมหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ณ จังหวัดสุโขทัย หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา บริหารจัดการน้ำร่วมกันตั้งแต่ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เผยพยายามคงอัตราการระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยาไม่ให้เกิน 2,200 ลบ.ม. ต่อวินาที เพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชนท้ายเขื่อนให้ได้มากที่สุด วันนี้ (5 ต.ค. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ...
อ่านต่อนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.)
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567) เวลา 14.10 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) ครั้งที่ 1 / 2567 โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย...
อ่านต่อสทนช. ลงพื้นที่ติดตามแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเชียงรายเผยเร่งผลักดันติดตั้งระบบโทรมาตรวัดระดับน้ำในเมียนมา ช่วยลดผลกระทบชาวริมโขง
สทนช. ลงพื้นที่ติดตามแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย เร่งกู้คืนระบบประปา สำรวจพื้นที่น้ำท่วมขังเพื่อหาแนวทางระบายน้ำ แก้ไขปัญหาตะกอนดินทรายทับถมบ้านเรือนและถนนถูกน้ำกัดเซาะขาด เผยสถานการณ์น้ำโขงบริเวณอำเภอเชียงแสนสูงสุดวันนี้และจะทยอยลดลง โดยขณะนี้ได้เร่งผลักดันติดตั้งระบบโทรมาตรวัดปริมาณฝน ระดับน้ำในเมียนมา เพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนน้ำฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลาก ลดผลกระทบชาวริมโขงทั้งสองประเทศ วันนี้ (14 ก.ย. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้ติดตามการกู้ระบบประปา สถานีผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)...
อ่านต่อประชาสัมพันธ์ (ร่าง) มาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระบบคลาวด์
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ได้เตรียมความพร้อมการใช้งานคลาวด์ตามนโนบาย Cloud First Policy ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน จึงขอประชาสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ (ร่าง) มาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระบบคลาวด์ โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ (ร่าง) มาตรฐานดังกล่าวได้ ที่นี่
อ่านต่อ“รมต.จักรพงษ์” ประชุมด่วนติดตามน้ำท่วม ย้ำความช่วยเหลือต้องเข้าถึงโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติ
รมต.จักรพงษ์ เรียกประชุมหน่วยงานด้านน้ำเร่งด่วน ติดตามสถานการณ์อุทกภัย สั่งการให้ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยให้กลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด ย้ำแม้สถานการณ์ไม่หนักเท่าปี 54 แต่ต้องเฝ้าระวังพายุจรอย่างใกล้ชิด วันนี้ (26 ส.ค. 67) นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมประเมินติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมีดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์...
อ่านต่อสทนช. ลุยภาคเหนือต่อเนื่อง ลงพื้นที่ จ.ลำปางและพะเยา เตรียมพร่องน้ำจากอ่างฯ กิ่วลม – กิ่วคอหมา และกว๊านพะเยา รองรับฝนอีกระลอกเดือน ก.ย. นี้
สทนช. ลงพื้นที่ จ.ลำปางและพะเยา เตรียมพร้อมรับฝนที่อาจจะตกหนักอีกระลอกช่วงเดือน ก.ย. นี้ มอบกรมชลประทานพร่องน้ำเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำในอ่างฯ กิ่วลม – กิ่วคอหมา และกว๊านพะเยา โดยให้ดำเนินการในช่วงอุทกภัยคลี่คลายแล้วและจะต้องไม่กระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ เผยระดับน้ำฝั่งตะวันออกของ จ.พะเยา ลดลงแล้ว อยู่ระหว่างเร่งฟื้นฟู เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 67 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)...
อ่านต่อสทนช. ลุยแก้น้ำท่วมภาคเหนือ คาด จ.แพร่ กลับสู่สภาวะปกติใน 2 วัน เคาะแนวทางจัดการลุ่มน้ำยม – น่าน ไม่ให้มวลน้ำตอนบนกระทบพื้นที่ จ.พิษณุโลก และสุโขทัย
สทนช. ลงพื้นที่ภาคเหนือตามข้อสั่งการรองนายกฯ ภูมิธรรม วางแนวทางบริหารจัดการลุ่มน้ำยม – น่าน ป้องกันมวลน้ำจาก จ.แพร่ ไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ จ.พิษณุโลกและสุโขทัย เร่งแก้ปัญหาทางรถไฟกีดขวางการระบายน้ำ แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงให้เกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวได้ทันเวลา ชี้ระดับน้ำใน จ.แพร่ ทยอยลดลงแล้ว คาดกลับสู่สภาวะปกติภายใน 2 วันนี้ เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 67 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล...
อ่านต่อ📣📣สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ขอเชิญชวน หน่วยงานของรัฐ และประชาชน ร่วมแสดงความคิดเห็นในการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
Online : ผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) หรือสแกน QR codeOnsite :ภาคเหนือ : 2 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 5 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่นภาคกลาง : 8...
อ่านต่อ“เลขาธิการ สทนช.” นำคณะประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงศึกษาดูงาน “เขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล”กระชับความสัมพันธ์การพัฒนาโครงการร่วมระหว่างประเทศ
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พร้อมด้วย นายชุมลาภ เตชะเสน ผู้ช่วยเลขาธิการ สทนช. และ ดร.วินัย วังพิมูล ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สทนช. นำคณะประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (กัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม) (MRC) และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) เยี่ยมชมโครงการเขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล...
อ่านต่อสทนช. เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
วันนี้ (28 กรกฎาคม 2567) นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สทนช. เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ดังนี้...
อ่านต่อลุ่มน้ำของเรา….เราต้องดูแล
สลิลธาราอารัญ หากนึกย้อนฉากทัศน์ไปสมัยยังเด็ก ชีวิตของฉันและครอบครัวผูกพันอยู่กับลำน้ำ คนในชุมชนทุกบ้านมีวิถีชีวิตอยู่ริมน้ำ ตั้งแต่ลืมตาใส่บาตรเรือพระจนกระทั่งอาบน้ำในคลองก่อนเข้านอน สัญจรไปมาด้วยลำคลองสายยาวสุดสายถึงชายฝั่งทะเลและบางลำน้ำก็เข้าไปถึงย่านสำคัญๆ ใจกลางเมือง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด… เพราะลำน้ำสำคัญต่อชุมชนเช่นนี้ตอนเด็กฉันจึงมักได้เห็นและได้ยินเรื่องราวหรือกิจกรรมเพื่อดูแลรักษาลำน้ำของกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชน บ่อยครั้งที่มีเรือลำใหญ่มาเก็บขยะหรือขุดลอกคูคลอง มีการประชุม (ส่วนใหญ่จะที่วัด) ในวาระต่างๆ เกี่ยวกับลำน้ำ เช่น การร่วมสร้างเขื่อนหินกันตลิ่งทรุด การลดหรือเพิ่มเรือโดยสารสาธารณะ การสร้างสะพานข้ามคูคลอง เป็นต้นและไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมหนัก หรือ น้ำแล้งวิกฤติอย่างไร...
อ่านต่อเปิดรับสมัครการประกวดแข่งขันด้านเทคโนโลยี ASEAN-MRC Technology Competition
สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น ้าโขง (Mekong River CommissionSecretariat: MRCS) มีหนังสือที่ No. L-MRCS (OCEO) 340/24 ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗ แจ้งว่าคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) ร่วมกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast...
อ่านต่อ“น้ำที่ทั่วถึงและเท่าเทียม”
“บ้านบนดอย บ่มีแสงสี บ่มีทีวี บ่มีน้ำประปา” แว่วเสียงเพลงเก่าเพลงนี้ลอยมาในหัว ขณะนั่งรถขึ้นดอยติดตามคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ไปดูคุณภาพน้ำประปาและน้ำในกิจกรรมอื่นๆ ในพื้นที่ อ.แม่สอด อ. แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง จ. ตาก พื้นที่สุดเขตชายแดนไทยติดกับประเทศพม่า จากโจทย์ความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนเรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างความเท่าเทียม ทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำให้ได้ในทุกพื้นที่ แม้แต่ในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาจยังไม่มีบัตรประชาชนไทย แต่หากอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทยแล้ว อย่างน้อยทุกคนควรมีสิทธิเข้าถึงสาธารณูโภคขั้นพื้นฐานได้ สำหรับการเข้าถึงเรื่อง...
อ่านต่อ“จักรพงษ์” รมต.สำนักนายกฯ ประเดิมลงพื้นที่ ติดตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเมืองเพชรบูรณาการหน่วยงานเร่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ
“จักรพงษ์ แสงมณี” รมต.สำนักนายกฯ ประเดิมงานแรก ลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ จ.เพชรบุรี หวังแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม-คุณภาพน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เร่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ รองรับความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น กำชับหน่วยงานบูรณาการบริหารจัดการน้ำตามแผน เร่งสำรวจพื้นที่ฟันหลอ เตรียมกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ให้ได้มากที่สุด วันนี้ (13 พ.ค. 67) นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)...
อ่านต่อร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ…
“โอ้ย!” “วันหยุดนี้พวกเราต้องลงพื้นที่ทำงานกันอีกแล้วเหรอ…” เสียงแว่วมาจากทีมงานรายการรู้อยู่กับน้ำ และมีคำถามตามมาว่าคนสั่งการไม่เบื่อบ้างหรืออย่างไร? ความคาใจที่จะถามเหตุผลและแนวคิดจากคนสั่งการก็ผุดขึ้นมาทันที… …เอาล่ะว่ะกล้าๆหน่อยถามให้รู้เรื่องไปเลย… …และแล้วก็มีการดักรอคนสั่งการแต่เช้าหน้าลิฟต์ของอาคารจุฑามาศซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สวัสดีค่ะท่านเลขาฯ มีหลายๆคนสงสัยว่าท่านเลขาฯไม่เหนื่อยที่จะลงพื้นที่ทำงานในช่วงวันหยุดบ้างหรือคะ? …เรื่องเหนื่อยเหรอ ย่อมเหนื่อยแน่นอนเพราะต้องเดินทาง ยิ่งถ้าเที่ยวบินเช้ามากๆก็ต้องตื่นแต่เช้า บางพื้นที่ต้องทั้งนั่งรถ เดินเท้าเข้าไปดูพื้นที่ให้เห็นสภาพปัญหาจริง พูดคุยซักถามพี่น้องประชาชนในพื้นที่ มันก็แค่เหนื่อยกายนะ แต่เรามีความสุขใจถ้าได้เห็นรอยยิ้มหรือแววตาแห่งความหวังจากพี่น้องประชาชนที่เกิดทุกข์จากปัญหาเรื่องน้ำ ความเหนื่อยกายก็ทุเลาลงสงสัยคงเพราะฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่งออกมาช่วยบำบัดร่างกายมัง… แล้วไม่เบื่อบ้างหรือคะ? …เป็นคำถามที่ดีนะ พูดอย่างโกหกหรือแนวโลกสวยก็ต้องบอกว่าไม่เบื่อแน่นอน แต่โลกแห่งความจริงคือเคยคิดเบื่อสิ แต่ต้องเปลี่ยนความคิดที่จะต้องไม่เบื่อให้ได้ เลยมีความคิดว่าต้องทำงานให้เหมือนเที่ยว...
อ่านต่อคู่มือฝายดินซีเมนต์
คู่มือฝายดินซีเมนต์ อ่านที่นี่
อ่านต่อสทนช.จับมือหน่วยงาน ลุยทำแผนบูรณาการน้ำระดับอำเภอนำร่อง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก แก้ปัญหาน้ำยั่งยืน
สทนช.จับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ลุยจัดทำแผนบูรณาการและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับอำเภอ นำร่องพื้นที่แรก อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ร่วมรับฟังปัญหาและความต้องการด้านน้ำในมิติต่างๆ เร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ มุ่งต่อยอดขยายผลแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค น้ำท่วม-น้ำแล้งและคุณภาพน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 5-7 เม.ย. 67 เพื่อติดตามพื้นที่เสี่ยงการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ในพื้นที่อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด...
อ่านต่อ“รองนายกฯ สมศักดิ์” ห่วงชาวริมโขงหลังเหตุสารเคมีรั่วไหลที่ สปป.ลาว สั่ง สทนช. เกาะติดสถานการณ์ใกล้ชิด
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี สั่ง สทนช. ติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขงใกล้ชิด หลังเกิดอุบัติเหตุทำให้มีกรดซัลฟิวริกรั่วไหลลงสู่แม่น้ำคาน แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง โดยผลจากการตรวจวัดคุณภาพน้ำ ณ แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ วันนี้ (6 เม.ย. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงกรณีเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลลงแม่น้ำคาน ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง...
อ่านต่อ“หนองหาร.. .อู่ข้าวอู่น้ำของชาวสกลนคร”
#สลิลธาราอารัญ หากคำว่า “อู่ข้าวอู่น้ำ” จะหมายถึง พื้นที่หรือดินแดนที่เป็นแหล่งผลิตอาหารให้กับมนุษย์และสัตว์ ก็ถือได้ว่า “พื้นที่ชุ่มน้ำ” ทั่วประเทศก็คือ “อู่ข้าวอู่น้ำ” ทางธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ในพื้นที่โดยรอบนั่นเอง เพราะพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือ Wetlands ได้แก่ แหล่งน้ำประเภทต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น คือแหล่งผลิตห่วงโซ่อาหารที่มีทรัพยากรและผลผลิตทางธรรมชาติที่มนุษย์สามารถนำไปใช้ผลประโยชน์ได้มากมาย และยังมีความสำคัญทางนิเวศวิทยา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม รวมไปถึงวิถีชีวิตชุมชนอีกด้วย พื้นที่ชุ่มน้ำจำนวนมากทั่วประเทศ ได้ถูกจัดแบ่งความสำคัญเป็น 4...
อ่านต่อ“รองนายกฯ สมศักดิ์” เคาะ 10 มาตรการรับมือฝนปี 67 ก่อนเสนอ ครม.สั่งหน่วยงานเร่งทำแผนปฏิบัติการ เตรียมพร้อมรับลานีญาแทนสภาวะเอลนีโญที่อ่อนกำลังลง
“รองนายกฯ สมศักดิ์” นั่งเก้าอี้ประธานการประชุม กนช. เห็นชอบ (ร่าง) 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 67 ก่อนเตรียมเสนอ ครม. พร้อมสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับมาตรการฯ คาดไทยเข้าสู่สภาวะลานีญาช่วง มิ.ย.-ส.ค.นี้ วันนี้ (27 มี.ค. 67) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)...
อ่านต่อรองนายกฯ “สมศักดิ์” เปิดงาน “วันน้ำโลก” ปี 67 ธีม “น้ำเพื่อสันติภาพ”
พร้อมเปิดตัว “เชอรี่ เข็มอัปสร” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ สทนช. ร่วมรณรงค์ “อนุรักษ์น้ำ” วันนี้ (22 มี.ค.67) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “วันน้ำโลก” ประจำปี พ.ศ.2567 โดยมี ดร. สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ให้การต้อนรับ...
อ่านต่อรองนายกฯ สมศักดิ์ มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้ชาวเชียงราย
เร่งขยายระบบประปา – พัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติ หนองหลวงและหนองฮ่าง รองนายกฯ สมศักดิ์ ลงพื้นที่ จ.เชียงราย ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปา เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ พร้อมติดตามการพัฒนาฟื้นฟูหนองหลวงและหนองฮ่าง พื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติ ให้มีระบบนิเวศสมบูรณ์และใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างสมดุลและยั่งยืน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและความก้าวหน้าโครงการด้านทรัพยากรน้ำ ณ จ.เชียงราย พร้อมด้วย นายชยันต์ เมืองสง และ นายไพฑูรย์...
อ่านต่อน้ำสะอาดจากคนดอยสู่คนเมือง
สลิลธาราอารัญ “โอ๊ะมื่อโชเปอ ….เนอะ โอ๋ ชู่ อะ” คือภาษากะเหรี่ยงแปลเป็นไทยว่า “สวัสดี….คุณสบายดีมั้ย” บทความตอนนี้ขึ้นด้วยคำทักทายน่ารักๆ จากชาวกะเหรี่ยงเพราะจะพูดถึงชีวิตของพี่น้องชาวเขาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัด “แม่ฮ่องสอน” ที่มีฉายา “เมืองสามหมอก” เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศจึงมีหมอกปกคลุมตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์อีกด้วย ทำให้เกิดความสงสัยว่าจังหวัดที่มีความหลากหลายแบบนี้เค้าบริหารจัดการเรื่องน้ำสะอาดสำหรับประชาชนกันอย่างไร ลักษณะของแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่เฉพาะที่มีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร และใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ดังนั้น การพัฒนาแหล่งน้ำทั้งระบบจะต้องศึกษาบริบทของแต่ละพื้นที่เพื่อวางแผนพัฒนาโครงการเฉพาะเป็นรายพื้นที่...
อ่านต่อประวัติศาสตร์เราต้องเปลี่ยน
เริ่มต้นจากชื่อเรื่องหลายๆคนคงนึกถึงนักร้องสาวสวยยุค 90 ที่มีดีกรีผ่านเวทีประกวดนางสาวไทยมาด้วย เพลงของเธอก็เป็นที่นิยมหลายเพลงเพราะทั้งเนื้อเพลงที่ไพเราะประกอบจังหวะดนตรีน้ำเสียงและความสวยเซ็กส์ซี่ของนักร้องด้วยแล้ว เรียกได้ว่าเป็นราชินีเพลงป้อปในยุคนั้นเลยทีเดียวหากใครได้ชมคอนเสิร์ตของเธอรับรองเป็นอันต้องติดใจ ลองมาฟังท่อนฮุคกันสักนิดเผื่อจะนึกออก “ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยน เปลี่ยนไปเป็นฉันและเธอ เท่าเทียมกัน“ สิ่งที่นักร้องต้องการสื่อคงสารคงเข้าใจตรงกันนะว่า…สิ่งไหนที่ผ่านมาแล้วมันไม่ดีก็เปลี่ยนเสีย อย่าทำอีก อย่าให้เกิดขึ้นอีก ไม่ใช่ว่าเราจะย้อนเวลาไปเปลี่ยนอดีตได้ถ้าจะย้อนเวลาไปเปลี่ยนอดีตคงต้องนั่งไทม์แมชชีนของโดราเอม่อนกลับไปหรือผ่านกระจกทวิภพของทมยันตีย้อนยุคกันไปเลยทีเดียว แต่นั่นมันแค่ในละคร กลับมาในโลกแห่งความจริงกันหน่อย เมื่อเร็วๆนี้พี่น้องชาวภาคใต้ของเราประสบกับมหาอุทกภัยโดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาสจากฝนตกหนักรวมกัน 3 วันเป็นปริมาณมากกว่า 700 มิลลิเมตร เฉลี่ยวันละ 2-300 มิลลิเมตรกันเลยทีเดียว...
อ่านต่อประกาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค
การแต่งตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำต่างๆ รายละเอียด อ่านที่นี่………… คลิก รายละเอียด อ่านที่นี่………… คลิก รายละเอียด อ่านที่นี่………… คลิก
อ่านต่อทุเรียนป่าละอูต้องรอดเอลนีโญ
สลิลธาราอารัญ ฤดูร้อนกำลังเดินทางมาถึงอีกครั้ง ช่วงนี้กลิ่นของไอแดดจัดๆ ในหน้าร้อนเริ่มชัดเจนขึ้น กลิ่นแบบนี้ทำให้นึกภาพไปถึงรายชื่อผลไม้ฤดูร้อนที่จะได้ลิ้มรสกันในปีนี้ ชื่อนึงที่ขาดไปไม่ได้เลยก็คือ “ทุเรียน” ราชาแห่งผลไม้ ซึ่งหลายพื้นที่ก็มีทุเรียนที่มีรสชาด รูปลักษณ์ และเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป ที่ขึ้นชื่อก็มี หลงและหลินลับแลของอุตรดิตถ์ ทุเรียนนนท์ ทุเรียนปราจีน ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ หมอนทองป่าละอู ฯลฯ นึกๆ ไปก็น้ำลายไหลไป ปีนี้จะได้กินกี่สายพันธ์กันหนอ “ทุเรียนป่าละอู” คือ ทุเรียนหมอนทองปลูกในพื้นที่...
อ่านต่อสทนช.ระดมสมองถอดบทเรียนแผนรับมือฤดูฝนที่ผ่านมาสู่การพัฒนาแผนรับมือฤดูฝนปี 67 ตั้งเป้าลดผลกระทบประชาชนมากที่สุด
สทนช.ระดมมันสมองจากทุกภาคส่วน ร่วมถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำและมาตรการรับมือในช่วงฤดูฝน ปี 66 ที่ผ่านมา วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค เตรียมแผนตั้งรับฝนฤดูกาลหน้าให้สอดรับสภาพอากาศแปรปรวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้ (16 ก.พ. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำและมาตรการรับมือในช่วงฤดูฝน ปี 2566 โดยมี นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวรายงาน...
อ่านต่อ“รองนายกฯ สมศักดิ์” นำทีมลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมภาคใต้ตอนล่างสั่งเฝ้าระวังสถานการณ์ 24 ชม. พร้อมเร่งช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยต่อเนื่อง
“รองนายกฯ สมศักดิ์” ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง ประชุมศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ ย้ำหน่วยราชการเร่งช่วยเหลือ อพยพประชาชนที่ประสบอุทกภัย สั่งจับตาพื้นที่น้ำท่วม เดิมอาจได้รับผลกระทบเหตุฝนเพิ่ม 1-2 วันนี้ และน้ำทะเลหนุนสูง ชี้ช่วงปีใหม่ฝนลดลงชิงโอกาสทองเร่งระบายน้ำออกทะเลให้สถานการณ์กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว วันนี้ (28 ธ.ค. 66) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมตรี เป็นประธานการประชุมศูนย์บริการจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้เพื่อรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำและพื้นที่ประสบอุทกภัย ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จังหวัดยะลา...
อ่านต่อ“รองนายกฯ สมศักดิ์” ย้ำพร้อมสร้างความมั่นคงให้ EEC หนุนสร้างโครงข่ายน้ำภาคตะวันออก
สทนช. บูรณาการสร้างการมีส่วนร่วมเพิ่มประสิทธิภาพการสูบผันน้ำลุ่มเจ้าพระยาและลุ่มน้ำป่าสัก จากคลองพระองค์ไชยานุชิต-อ่างเก็บน้ำบางพระ ผ่านโครงข่ายน้ำภาคตะวันออก สู้วิกฤตเอลนีโญ ทุบสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปีกว่า 64 ล้าน ลบ.ม. โดยไม่กระทบพื้นที่ต้นน้ำ สร้างความมั่นคงด้านน้ำให้กับพื้นที่ EEC มั่นใจเพียงพอกับความต้องการใช้ในทุกภาคส่วน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลประสบผลสำเร็จในการสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้กับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จากการติดตามสถานการณ์ล่าสุดปริมาณน้ำต้นทุนเพียงพอกับความต้องการในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร และอุตสาหกรรม...
อ่านต่อสทนช.จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ จ.สุโขทัยก่อนภัยแล้งส่งผลกระทบน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน
สทนช.ลุยแผนเร่งด่วนช่วยเหลือประชาชน จ.สุโขทัย ในพื้นที่อับฝน-ขาดแคลนแหล่งน้ำผิวดิน หลังประเมินปริมาณน้ำในแหล่งน้ำดิบมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ย้ำแผนป้องกันผลกระทบขาดน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ให้รอดแล้ง วันนี้ (16 ธ.ค.66) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ เป็นต้น ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง จ.สุโขทัย...
อ่านต่อสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ดำเนินการประกาศนโยบาย No Gift Policy
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ดำเนินการประกาศนโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบโดยเสริมสร้างค่านิยม ปลุกจิตสำนึกและทัศนคติที่ดี ที่จะร่วมกันสร้างวัฒนธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติทุกคนไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่
อ่านต่อ“ไข่มุกอันดามัน” ต้นแบบน้ำเพื่อการท่องเที่ยว
“ไข่มุกอันดามัน” สมญานามของจังหวัดภูเก็ต อัญมณีเม็ดงามที่เป็นส่วนหนึ่งของท้องทะเลอันดามันตั้งอยู่ปลายด้ามขวานของไทย นอกจากจะมีความงามของธรรมชาติจากชายหาดและท้องทะเลแล้ว ภูเก็ตยังเป็นแหล่งผลิตไข่มุกน้ำเค็มที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศอีกด้วย ทำให้ไข่มุกเม็ดงามนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกหลั่งไหลมาไหลหลงในแหล่งท่องเที่ยวและบริการต่าง ๆ ของเกาะภูเก็ต ไม่ว่าจะเป็น หาดทรายขาว ทะเลใส เมืองเก่า อาหารพื้นเมืองเลิศรส หรือแม้แต่บริการแบบไทยๆ ที่พร้อมให้ความสุขแก่ผู้มาเยือน ทั้งนักท่องเที่ยวธรรมชาติยามกลางวัน และนักท่องแสงสีในยามราตรี ส่งผลให้การขยายตัวของเมืองและเศรษฐกิจของภูเก็ตเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภูเก็ตส่งผลให้เกิดความต้องการน้ำในปริมาณมากๆ ในแต่ละปีสำหรับใช้ในแหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการต่างๆ ในขณะที่สภาพพื้นที่ของภูเก็ตเป็นเกาะรายล้อมไปด้วยน้ำทะเลจึงเป็นข้อจำกัดสำคัญในการบริหารจัดการน้ำที่ได้มาตรฐานให้เพียงพอต่อความต้องการของเมือง และการที่เมืองขยายตัวทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทั้งนักท่องเที่ยวและแรงงานในเกาะ ก่อเกิดขยะและน้ำเสียจำนวนมากที่จะต้องมีการบริหารจัดการให้ดี นอกจากนี้...
อ่านต่อสทนช.ยืนยันดำเนินงานตามภารกิจลดความซ้ำซ้อน/สร้างความมั่นคงด้านน้ำ
สทนช. ย้ำดำเนินภารกิจภายใต้ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ 2561 ยืนยันไม่ได้รวบอำนาจ แต่บูรณาการหน่วยงานด้านน้ำให้มีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียว ลดความซ้ำซ้อน สร้างความมั่นคงด้านน้ำ พร้อมแจงระบบ Thai Water Plan (TWP) ช่วยขับเคลื่อนภารกิจการแก้ไขปัญหาด้านน้ำของประเทศในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีผู้โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “บทบาท สทนช. ไม่ปรับเปลี่ยน...
อ่านต่อนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการการในพื้นที่ประสบอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง ณ จังหวัดร้อยเอ็ด
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2566 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการการในพื้นที่ประสบอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง ณ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมลงพื้นที่และรายงานภาพรวมสถานการณ์น้ำในพื้นที่ด้วย ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งอย่างยั่งยืน โดยมอบให้ สทนช. จัดทำแผนการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบและให้ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนและลดปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำชีมูลได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้...
อ่านต่อนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมสั่งการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมสั่งการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยมี ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานชลประทานที่ 7 อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ในการนี้ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เข้าร่วมประชุมและรายงานภาพรวมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลด้วย โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวมอบนโยบายว่า...
อ่านต่อสทนช.เกาะติดมวลน้ำภาคกลาง ตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า พร้อมรับมืออุทกภัยอย่างเป็นเอกภาพ
สทนช.ตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลางเกาะติดสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา รับมือน้ำหลากตอนบนไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น กระทบพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคัน บูรณาการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนอย่างเป็นเอกภาพ เร่งเตรียมการป้องกันก่อนเกิดภัย ลดผลกระทบ พร้อมช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงทีวันนี้ (4 ต.ค. 66) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง และเป็นประธานการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคกลาง ครั้งที่ 1/2566 ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง...
อ่านต่อสทนช.เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คณะที่ 1.1 แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ...
อ่านต่อ“อตฺตาหิ อตฺตโนนาโถ พลังที่ยั่งยืนของชุมชน”
จากตำนาน “หลวงพ่อโสธร” พระศักดิ์สิทธิ์สถิตคู่บ้านคู่เมืองฉะเชิงเทรามานานกว่า 250 ปี ศูนย์กลางแห่งกระแสศรัทธาของประชาชน ไม่ใช่แค่เพียงลูกหลานชาวฉะเชิงเทราเท่านั้น แต่ขยายออกไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่าเดิมทีหลวงพ่อนั้นประดิษฐานอยู่ทางภาคเหนือ ต่อมาบ้านเมืองเกิดเหตุการณ์ระส่ำระสายจึงได้แสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำลงมาถึงแม่น้ำบางปะกง และถูกอัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่วัดหงส์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดโสธรวราราม” มาจนถึงปัจจุบัน ด้านความศรัทธาที่มีต่อองค์หลวงพ่อโสธรไม่เพียงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองฉะเชิงเทราเท่านั้น ท่านยังเป็นดุจพ่อที่ดูแลรักษาลูกหลาน และเป็นที่พึ่งทางใจคนทุกข์ยาก สิ่งของที่ประชาชนนิยมนำไปบูชาหลวงพ่อหลังจากขอพรสำเร็จ ได้แก่ ไข่ต้ม ละครรำ การทำบุญถวายสังฆทาน การปฏิบัติธรรม และการตั้งสัจจอธิษฐานทำความเพียร...
อ่านต่อร่วมมือแก้แล้งในฝนของเมืองย่าโม
นครราชสีมา โคราช เมืองย่าโมแล้วแต่จะเรียกตามความถนัดของแต่ละคน เมืองนี้นับว่าเป็นเมืองหน้าด่านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานของไทย เป็นเมืองที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย จึงต้องแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 32 อำเภอ และมีประชากรมากเป็นอับดับ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานคร เมืองนี้ยังมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยเฉพาะประวัติศาสตร์การต่อสู้ปกป้องบ้านเมืองจากข้าศึก ด้วยเหล่าสตรีที่มีผู้นำว่าย่าโมหรือท้าวสุรนารี จนสามารถปกป้องบ้านเมืองนี้ได้จากข้าศึกมาให้ลูกหลานจวบจนทุกวันนี้ลูกหลานย่าโมได้สร้างอนุเสาวรีย์ย่าโมตั้งอยู่ใจกลางเมืองโคราช เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงวีรกรรมในความกล้าหาญและคุณงามความดีของท่าน รวมทั้งให้ผู้คนได้สักการะบูชาขอบารมีย่าให้คุ้มครองลูกหลานให้อยู่รอดปลอดภัย มีความสุข ความเจริญ ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้คนไปสักการะบูชากันมากมาย บ้างก็มาแก้บนกับย่าที่เคยขอไว้กับย่าแล้วประสบความสำเร็จด้วยเพลงโคราชที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นด้วยเมืองย่าโมเป็นเมืองใหญ่ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงและมีพื้นที่การเกษตรมาก ทำให้ปริมาณความต้องการน้ำสูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามด้วยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง...
อ่านต่อ#ฟื้น“พระแม่คงคา” คืนสู่ “คลองแม่ข่า”ด้วยหัวใจชุมชน
#ชีวาธาราวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปีชาวไทยพุทธมีประเพณี “ลอยกระทง”วัฒนธรรมที่เกี่ยวพันกับสายน้ำสืบทอดกันมายาวนาน เพื่อขอบคุณและอธิษฐานขอพรเสริมสิริมงคลให้ชีวิต รวมถึงการกล่าวขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในน้ำจาก “พระแม่คงคา” เทพศักดิ์สิทธิ์ผู้ดูแลน้ำ ลำคลอง หรือสายน้ำทั่วทุกแห่ง ซึ่งในคัมภีร์ปุราณะ เรียกพระแม่คงคาว่า “วิยัทคงคา” หรือ “คงคาสวรรค์” พระแม่คงคานี้จะไหลออกจากนิ้วหัวแม่เท้าของพ่อวิษณุนารายณ์ ให้เราได้อาศัยน้ำกินน้ำใช้ หากเราใช้ “น้ำ”กันอย่างสร้างสรรค์ก็เป็นคุณ แต่หากทำลายใช้อย่างไม่สร้างสรรค์ ทำให้น้ำเสีย ล้วนแต่ส่งผลกระทบมากมาย เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและเป็นพาหนะนำโรคต่าง...
อ่านต่อฝนนี้รอดด้วยคณะกรรมการลุ่มน้ำ
ฤดูฝนบ้านเราปีนี้ค่อนข้างล่าช้ากว่าปีก่อนๆ ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ว่าได้ ปีที่แล้วบ้านเราเผชิญกับสถานการณ์ลานีญา ทำให้มีฝนตกหนักมากกว่าปกติ มีปริมาณฝนสะสมรวมใกล้เคียงกับปี 2554 ที่เกิดมหาอุทกภัย แต่ในปี 2565 นั้น ความร่วมมือและรูปแบบการบริหารจัดการน้ำที่เปลี่ยนไป ทำให้พื้นที่ประสบอุทกภัยน้อยกว่าปี 2554 ในขณะที่ปีนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์เอลนีโญ ที่จะทำให้ปริมาณฝนมีแนวโน้มน้อยกว่าค่าปกติ แต่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์โอกาสที่บ้านเราจะเผชิญกับพายุหมุนเขตร้อน 1-2 ลูก หากคำพยากรณ์เป็นเช่นนั้นจริง บ้านเราอาจจะได้รับผลกระทบทั้งภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย การบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง องค์กรที่เราคาดหวังว่าจะช่วยเราได้อย่างดี นั่นคือ คณะกรรมการลุ่มน้ำ...
อ่านต่อกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอเชิญชมรายการ รู้อยู่กับน้ำ ตอนที่ 5 “คณะกรรมการ 22 ลุ่มน้ำ ด่านหน้าปราบกองทัพฃน้ำ
ในตอนนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักหน่วยงานสำคัญที่จะต้องบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เปรียบได้กับกองทัพด่านหน้าที่ต้องฟันฝ่าวิกฤติการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากน้ำเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยและอยู่ดีกินดีมีน้ำใช้อย่างพอเพียง เผยแพร่ทางเพจกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30 น.
อ่านต่อตราสัญลักษณ์งานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ
คำอธิบายตราสัญลักษณ์งานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ อักษรพระนาม ออป ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ภายใต้เศวตฉัตรสามชั้นห้อยอุบะจำปาทองตามพระอิสริยยศ ประดิษฐานในกรอบ ลักษณะอย่างเสาศิลาหลักมหาสีมา สื่อความหมายว่าทรงเป็นหลักชัยแห่งพุทธจักรไทย และทรงเป็นเจ้าอาวาส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พื้นสีแดงหมายถึงวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันประสูติ มีเลข ๙๖ แสดงพระชนมายุ...
อ่านต่อ#เส้นเลือดใหญ่ระหว่างพรมแดน
เมื่อแสงสีทองเริ่มสะท้อนระยิบระยับจากผิวน้ำ แว่วยินเสียงไก่โก่งคอขันประสานเสียงกัน เหมือนดั่งนักร้องวงออร์เคสต้า พร้อมกับกลิ่นควันไหม้ฟืนที่กำลังลุกโชนใต้หวดนึ่งข้าว ทำให้กลิ่นหอมข้าวนึ่งโชยมาเตะจมูก ชาวประมงพื้นบ้านเริ่มแล่นเรือออกหาปลาในลำน้ำ นั่นคือสัญญาณบ่งบอกให้ทราบถึงวันใหม่แห่งลุ่มน้ำโขงที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงผู้คนชาวริมโขงของนานาประเทศได้เริ่มขึ้นอีกแล้ว แม่น้ำโขงที่ได้รับขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของทิเบต ไหลผ่านประเทศจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ทำให้แม่น้ำโขงมีชื่อเรียกต่างกันไปตามประเทศที่ผ่าน อาทิ คนจีนเรียกแม่น้ำหลานชางหรือหลานชางเจียง คนเมียนมาและคนลาวเรียกแม่น้ำของ เป็นต้น แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขาที่มีตลิ่งสูงชันทั้งสองข้าง ไหลจากเหนือลงสู่ใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันมาก...
อ่านต่อสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง มีความประสงค์รับสมัครงาน เพื่อปฏิบัติงาน ณ เวียงจันทร์ ตำแหน่ง Navigation Operations Specialist
สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Secretariat: MRCS) มีความประสงค์รับสมัครงาน เพื่อปฏิบัติงาน ณ MRCS เวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตำแหน่ง Navigation Operations SpecialistJob Description : https://drive.google.com/…/1Cfv0Se4ycuHv2GUeoUGVAYmlzVD…ผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ – 20 มิถุนายน 2566หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 2554...
อ่านต่อ“พลเอก ประวิตร” นั่งหัวโต๊ะ กอนช. วางแผนรับมือฝนทิ้งช่วงจากเอลนีโญ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมาตรการรับมือฤดูฝนและการรับมือฝนทิ้งช่วง ปี 66 เตรียมพร้อมรองรับปรากฎการณ์ “เอลนีโญ” วันนี้ (8 มิ.ย. 66) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ณ...
อ่านต่อสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Secretariat: MRCS) มีความประสงค์รับสมัครงาน เพื่อปฏิบัติงาน ณ MRCS เวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจำนวน 2 ตำแหน่ง
สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Secretariat: MRCS) มีความประสงค์รับสมัครงาน เพื่อปฏิบัติงาน ณ MRCS เวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจำนวน 2 ตำแหน่ง ดังนี้1.ตำแหน่ง Personal Assistant to CEO JOB DESCRIPTION https://drive.google.com/…/1JtDQrA0uhpVcN6m5TJClGmSXmCc…2.ตำแหน่ง Communication Officer...
อ่านต่อประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติฉบับที่ 5/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าจะมีร่องมรสุมพาดผ่าน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมและมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 7 – 11 มิถุนายน 2566 ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้1....
อ่านต่อสทนช. จับมือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ หนุนการบริหารจัดการน้ำท้องถิ่นตามบริบทชุมชน ลดท่วม-แล้ง
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมหารือโครงการพัฒนาการเติมน้ำใต้ดิน เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง โดยมี นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง ผู้อำนวยการ สทนช.ภาค 2 นายวิทยา มีนิสัย ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล นางอัญชลี พงษ์สถิตย์พัฒน์ นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล...
อ่านต่อประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติฉบับที่ 4/2566
เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางจะเคลื่อนเข้ามาปกคลุมประเทศลาวและกัมพูชา ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 27 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2566 ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน...
อ่านต่อ