รักษ์โลกด้วยมือเรา
#ตรัยวาริน วันนี้เราจะพาไปสืบค้นเรื่องราวของเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับหลวงพระบางของประเทศลาว นั่นก็คือเมืองน่านของไทยเรานั่นเอง น่านเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศิลปะล้านนาซึ่งเป็นศิลปะที่ใกล้เคียงกับศิลปะล้านช้างของลาว และงดงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เช่น ที่วัดภูมินทร์ที่มีความอ่อนช้อยสวยงามไม่แพ้วัดต่างๆ ในเมืองหลวงพระบาง ภายในวัดยังมีศิลปภาพวาดปู่ม่าน&ย่าม่าน ซึ่งเป็นภาพกระซิบรักบันลือโลกที่แสนจะโรแมนติกสะท้อนให้เรารู้เรื่องราวแห่งความรักในอดีตของชาวล้านนาเมืองน่าน คู่รักใดมาพบเห็นย่อมอดใจไม่ไหวที่จะแอบเลียนแบบถ่ายรูปคู่กับปู่และย่าคู่นี้ไว้เป็นที่ระลึก เมืองน่านยังคงมีธรรมชาติที่เป็นลักษณะทิวเขาที่สลับซับซ้อนงดงาม อากาศเย็นสบายทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาดื่มด่ำกับชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ จิบกาแฟร้อนๆท่ามกลางภูเขา แมกไม้และลำธาร ทำให้ดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญหลายสายอาทิ ลำน้ำปาด ลำน้ำน้ำว้า ลำน้ำปัว ลำน้ำสมุน เป็นต้น โดยไหลมารวมกันเป็น แม่น้ำน่านซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสำคัญที่ไหลมารวมกับแม่น้ำปิง วังและยมกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเลือดใหญ่ของไทย...
อ่านต่อลุ่มน้ำของเรา….เราต้องดูแล
สลิลธาราอารัญ หากนึกย้อนฉากทัศน์ไปสมัยยังเด็ก ชีวิตของฉันและครอบครัวผูกพันอยู่กับลำน้ำ คนในชุมชนทุกบ้านมีวิถีชีวิตอยู่ริมน้ำ ตั้งแต่ลืมตาใส่บาตรเรือพระจนกระทั่งอาบน้ำในคลองก่อนเข้านอน สัญจรไปมาด้วยลำคลองสายยาวสุดสายถึงชายฝั่งทะเลและบางลำน้ำก็เข้าไปถึงย่านสำคัญๆ ใจกลางเมือง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด… เพราะลำน้ำสำคัญต่อชุมชนเช่นนี้ตอนเด็กฉันจึงมักได้เห็นและได้ยินเรื่องราวหรือกิจกรรมเพื่อดูแลรักษาลำน้ำของกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชน บ่อยครั้งที่มีเรือลำใหญ่มาเก็บขยะหรือขุดลอกคูคลอง มีการประชุม (ส่วนใหญ่จะที่วัด) ในวาระต่างๆ เกี่ยวกับลำน้ำ เช่น การร่วมสร้างเขื่อนหินกันตลิ่งทรุด การลดหรือเพิ่มเรือโดยสารสาธารณะ การสร้างสะพานข้ามคูคลอง เป็นต้นและไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมหนัก หรือ น้ำแล้งวิกฤติอย่างไร...
อ่านต่อ“น้ำที่ทั่วถึงและเท่าเทียม”
“บ้านบนดอย บ่มีแสงสี บ่มีทีวี บ่มีน้ำประปา” แว่วเสียงเพลงเก่าเพลงนี้ลอยมาในหัว ขณะนั่งรถขึ้นดอยติดตามคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ไปดูคุณภาพน้ำประปาและน้ำในกิจกรรมอื่นๆ ในพื้นที่ อ.แม่สอด อ. แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง จ. ตาก พื้นที่สุดเขตชายแดนไทยติดกับประเทศพม่า จากโจทย์ความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนเรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างความเท่าเทียม ทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำให้ได้ในทุกพื้นที่ แม้แต่ในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาจยังไม่มีบัตรประชาชนไทย แต่หากอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทยแล้ว อย่างน้อยทุกคนควรมีสิทธิเข้าถึงสาธารณูโภคขั้นพื้นฐานได้ สำหรับการเข้าถึงเรื่อง...
อ่านต่อร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ…
“โอ้ย!” “วันหยุดนี้พวกเราต้องลงพื้นที่ทำงานกันอีกแล้วเหรอ…” เสียงแว่วมาจากทีมงานรายการรู้อยู่กับน้ำ และมีคำถามตามมาว่าคนสั่งการไม่เบื่อบ้างหรืออย่างไร? ความคาใจที่จะถามเหตุผลและแนวคิดจากคนสั่งการก็ผุดขึ้นมาทันที… …เอาล่ะว่ะกล้าๆหน่อยถามให้รู้เรื่องไปเลย… …และแล้วก็มีการดักรอคนสั่งการแต่เช้าหน้าลิฟต์ของอาคารจุฑามาศซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สวัสดีค่ะท่านเลขาฯ มีหลายๆคนสงสัยว่าท่านเลขาฯไม่เหนื่อยที่จะลงพื้นที่ทำงานในช่วงวันหยุดบ้างหรือคะ? …เรื่องเหนื่อยเหรอ ย่อมเหนื่อยแน่นอนเพราะต้องเดินทาง ยิ่งถ้าเที่ยวบินเช้ามากๆก็ต้องตื่นแต่เช้า บางพื้นที่ต้องทั้งนั่งรถ เดินเท้าเข้าไปดูพื้นที่ให้เห็นสภาพปัญหาจริง พูดคุยซักถามพี่น้องประชาชนในพื้นที่ มันก็แค่เหนื่อยกายนะ แต่เรามีความสุขใจถ้าได้เห็นรอยยิ้มหรือแววตาแห่งความหวังจากพี่น้องประชาชนที่เกิดทุกข์จากปัญหาเรื่องน้ำ ความเหนื่อยกายก็ทุเลาลงสงสัยคงเพราะฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่งออกมาช่วยบำบัดร่างกายมัง… แล้วไม่เบื่อบ้างหรือคะ? …เป็นคำถามที่ดีนะ พูดอย่างโกหกหรือแนวโลกสวยก็ต้องบอกว่าไม่เบื่อแน่นอน แต่โลกแห่งความจริงคือเคยคิดเบื่อสิ แต่ต้องเปลี่ยนความคิดที่จะต้องไม่เบื่อให้ได้ เลยมีความคิดว่าต้องทำงานให้เหมือนเที่ยว...
อ่านต่อ“หนองหาร.. .อู่ข้าวอู่น้ำของชาวสกลนคร”
#สลิลธาราอารัญ หากคำว่า “อู่ข้าวอู่น้ำ” จะหมายถึง พื้นที่หรือดินแดนที่เป็นแหล่งผลิตอาหารให้กับมนุษย์และสัตว์ ก็ถือได้ว่า “พื้นที่ชุ่มน้ำ” ทั่วประเทศก็คือ “อู่ข้าวอู่น้ำ” ทางธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ในพื้นที่โดยรอบนั่นเอง เพราะพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือ Wetlands ได้แก่ แหล่งน้ำประเภทต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น คือแหล่งผลิตห่วงโซ่อาหารที่มีทรัพยากรและผลผลิตทางธรรมชาติที่มนุษย์สามารถนำไปใช้ผลประโยชน์ได้มากมาย และยังมีความสำคัญทางนิเวศวิทยา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม รวมไปถึงวิถีชีวิตชุมชนอีกด้วย พื้นที่ชุ่มน้ำจำนวนมากทั่วประเทศ ได้ถูกจัดแบ่งความสำคัญเป็น 4...
อ่านต่อน้ำสะอาดจากคนดอยสู่คนเมือง
สลิลธาราอารัญ “โอ๊ะมื่อโชเปอ ….เนอะ โอ๋ ชู่ อะ” คือภาษากะเหรี่ยงแปลเป็นไทยว่า “สวัสดี….คุณสบายดีมั้ย” บทความตอนนี้ขึ้นด้วยคำทักทายน่ารักๆ จากชาวกะเหรี่ยงเพราะจะพูดถึงชีวิตของพี่น้องชาวเขาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัด “แม่ฮ่องสอน” ที่มีฉายา “เมืองสามหมอก” เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศจึงมีหมอกปกคลุมตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์อีกด้วย ทำให้เกิดความสงสัยว่าจังหวัดที่มีความหลากหลายแบบนี้เค้าบริหารจัดการเรื่องน้ำสะอาดสำหรับประชาชนกันอย่างไร ลักษณะของแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่เฉพาะที่มีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร และใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ดังนั้น การพัฒนาแหล่งน้ำทั้งระบบจะต้องศึกษาบริบทของแต่ละพื้นที่เพื่อวางแผนพัฒนาโครงการเฉพาะเป็นรายพื้นที่...
อ่านต่อ