สทนช. ลุยภาคเหนือต่อเนื่อง ลงพื้นที่ จ.ลำปางและพะเยา เตรียมพร่องน้ำจากอ่างฯ กิ่วลม – กิ่วคอหมา และกว๊านพะเยา รองรับฝนอีกระลอกเดือน ก.ย. นี้
สทนช. ลงพื้นที่ จ.ลำปางและพะเยา เตรียมพร้อมรับฝนที่อาจจะตกหนักอีกระลอกช่วงเดือน ก.ย. นี้ มอบกรมชลประทานพร่องน้ำเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำในอ่างฯ กิ่วลม – กิ่วคอหมา และกว๊านพะเยา โดยให้ดำเนินการในช่วงอุทกภัยคลี่คลายแล้วและจะต้องไม่กระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ เผยระดับน้ำฝั่งตะวันออกของ จ.พะเยา ลดลงแล้ว อยู่ระหว่างเร่งฟื้นฟู เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 67 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามสถานการณ์น้ำภาคเหนือ ณ จังหวัดลำปางและจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเดินทางไปยังจังหวัดลำปาง เพื่อติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ในพื้นที่ ณ ห้องประชุมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา ตำบลบ้านแลง อำเภอมืองลำปาง...
อ่านต่อสทนช. ลุยแก้น้ำท่วมภาคเหนือ คาด จ.แพร่ กลับสู่สภาวะปกติใน 2 วัน เคาะแนวทางจัดการลุ่มน้ำยม – น่าน ไม่ให้มวลน้ำตอนบนกระทบพื้นที่ จ.พิษณุโลก และสุโขทัย
สทนช. ลงพื้นที่ภาคเหนือตามข้อสั่งการรองนายกฯ ภูมิธรรม วางแนวทางบริหารจัดการลุ่มน้ำยม – น่าน ป้องกันมวลน้ำจาก จ.แพร่ ไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ จ.พิษณุโลกและสุโขทัย เร่งแก้ปัญหาทางรถไฟกีดขวางการระบายน้ำ แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงให้เกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวได้ทันเวลา ชี้ระดับน้ำใน จ.แพร่ ทยอยลดลงแล้ว คาดกลับสู่สภาวะปกติภายใน 2 วันนี้ เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 67 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามสถานการณ์น้ำภาคเหนือ ณ จ.พิษณุโลก และ จ.แพร่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเดินทางไปยัง จ.พิษณุโลก เพื่อติดตามผลการดำเนินการมาตรการฤดูฝน ปี 67...
อ่านต่อรักษ์โลกด้วยมือเรา
#ตรัยวาริน วันนี้เราจะพาไปสืบค้นเรื่องราวของเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับหลวงพระบางของประเทศลาว นั่นก็คือเมืองน่านของไทยเรานั่นเอง น่านเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศิลปะล้านนาซึ่งเป็นศิลปะที่ใกล้เคียงกับศิลปะล้านช้างของลาว และงดงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เช่น ที่วัดภูมินทร์ที่มีความอ่อนช้อยสวยงามไม่แพ้วัดต่างๆ ในเมืองหลวงพระบาง ภายในวัดยังมีศิลปภาพวาดปู่ม่าน&ย่าม่าน ซึ่งเป็นภาพกระซิบรักบันลือโลกที่แสนจะโรแมนติกสะท้อนให้เรารู้เรื่องราวแห่งความรักในอดีตของชาวล้านนาเมืองน่าน คู่รักใดมาพบเห็นย่อมอดใจไม่ไหวที่จะแอบเลียนแบบถ่ายรูปคู่กับปู่และย่าคู่นี้ไว้เป็นที่ระลึก เมืองน่านยังคงมีธรรมชาติที่เป็นลักษณะทิวเขาที่สลับซับซ้อนงดงาม อากาศเย็นสบายทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาดื่มด่ำกับชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ จิบกาแฟร้อนๆท่ามกลางภูเขา แมกไม้และลำธาร ทำให้ดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญหลายสายอาทิ ลำน้ำปาด ลำน้ำน้ำว้า ลำน้ำปัว ลำน้ำสมุน เป็นต้น โดยไหลมารวมกันเป็น แม่น้ำน่านซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสำคัญที่ไหลมารวมกับแม่น้ำปิง วังและยมกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเลือดใหญ่ของไทย แม่น้ำน่านก็ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตพลังงานสะอาดเช่นกันในชื่อเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และนับว่าเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดของบ้านเรากันเลยทีเดียว สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 500,000 กิโลวัตต์ ภายใต้การดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญทั้งการประมง และการเกษตร ทุก ๆ ปีฝนที่ตกลงบนขุนเขาที่เรียงรายในจังหวัดน่าน จะไหลลงสู่ลำน้ำสาขาต่างๆ ไปสู่ลำน้ำน่านสายหลัก หากขุนเขาใดมีต้นไม้หรือป่าหนาแน่น...
อ่านต่อ📣📣สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ขอเชิญชวน หน่วยงานของรัฐ และประชาชน ร่วมแสดงความคิดเห็นในการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
Online : ผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) หรือสแกน QR codeOnsite :ภาคเหนือ : 2 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 5 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่นภาคกลาง : 8 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมแคนทารี่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาภาคใต้ : 13 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมไดมอนด์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและ สิงหาคม 2567 ณ...
อ่านต่อ“เลขาธิการ สทนช.” นำคณะประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงศึกษาดูงาน “เขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล”กระชับความสัมพันธ์การพัฒนาโครงการร่วมระหว่างประเทศ
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พร้อมด้วย นายชุมลาภ เตชะเสน ผู้ช่วยเลขาธิการ สทนช. และ ดร.วินัย วังพิมูล ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สทนช. นำคณะประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (กัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม) (MRC) และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) เยี่ยมชมโครงการเขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล เพื่อศึกษาความร่วมมือการบริหารจัดการโครงการระหว่างประเทศ สำหรับ เขื่อนอีไตปู สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1974 แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1982 ตั้งอยู่บนแม่น้ำพารานา ระหว่างประเทศบราซิลและปารากวัย ลักษณะของเขื่อนอิไตปู เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งชนิดเขื่อนแบบกลวง มีความยาวประมาณ 7,919...
อ่านต่อสทนช. เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
วันนี้ (28 กรกฎาคม 2567) นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สทนช. เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ดังนี้ เวลา 07.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตร เพื่อถวายพระราชกุศล ณ บริเวณท้องสนามหลวง เวลา 08.00 น. พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ณ เวทีใหญ่ ท้องสนามหลวง จากนั้น...
อ่านต่อลุ่มน้ำของเรา….เราต้องดูแล
สลิลธาราอารัญ หากนึกย้อนฉากทัศน์ไปสมัยยังเด็ก ชีวิตของฉันและครอบครัวผูกพันอยู่กับลำน้ำ คนในชุมชนทุกบ้านมีวิถีชีวิตอยู่ริมน้ำ ตั้งแต่ลืมตาใส่บาตรเรือพระจนกระทั่งอาบน้ำในคลองก่อนเข้านอน สัญจรไปมาด้วยลำคลองสายยาวสุดสายถึงชายฝั่งทะเลและบางลำน้ำก็เข้าไปถึงย่านสำคัญๆ ใจกลางเมือง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด… เพราะลำน้ำสำคัญต่อชุมชนเช่นนี้ตอนเด็กฉันจึงมักได้เห็นและได้ยินเรื่องราวหรือกิจกรรมเพื่อดูแลรักษาลำน้ำของกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชน บ่อยครั้งที่มีเรือลำใหญ่มาเก็บขยะหรือขุดลอกคูคลอง มีการประชุม (ส่วนใหญ่จะที่วัด) ในวาระต่างๆ เกี่ยวกับลำน้ำ เช่น การร่วมสร้างเขื่อนหินกันตลิ่งทรุด การลดหรือเพิ่มเรือโดยสารสาธารณะ การสร้างสะพานข้ามคูคลอง เป็นต้นและไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมหนัก หรือ น้ำแล้งวิกฤติอย่างไร ชาวบ้านต่างก็ใช้สายน้ำเชื่อมต่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนผ่านทุกเหตุการณ์มาได้ นั่นคือภาพแหล่งน้ำในมุมมองแคบ ๆ เพียงย่านที่ฉันเกิดในวัยเด็ก…..วันนี้ที่ฉันเติบโตขึ้นมาและได้รู้จักกับแหล่งน้ำในภาพที่กว้างขึ้น ก็พบว่าประเทศไทยของเรามีถึง 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ ที่มีบริบทที่แตกต่างกันไปด้วยปัจจัยแห่งสภาพภูมิประเทศ การพัฒนาของพื้นที่ วิถีแห่งผู้คน อาชีพ การดำรงชีวิต ฯลฯ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาที่เกิดในแต่ละลุ่มน้ำจึงแตกต่างกัน...
อ่านต่อเรื่อง รับสมัครตำแหน่ง Communication Officer for Outreach ครั้งที่3
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลางภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง MRCS มีความประสงค์รับสมัครงานตำแหน่ง Communication Officer for Outreach ปฏิบัติงาน ณ MRCS เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีรายละเอียดงาน (Job description) และหลักเกณฑ์การรับสมัครสามารถดูรายละเอียดได้ ดังนี้ Communication Officer for Outreach: Job description (https://bit.ly/3tokqup) คุณสมบัติผู้สมัคร เอกสารประกอบการสมัคร ค่าตอบแทน ค่าตอบแทนต่อปี จำนวน US$ 33,440 ขั้นตอนการสมัคร 1. กรอกข้อมูลสมัครทางเว็บไซต์ (https://shorturl.at/bhtG4) 2. ส่ง...
อ่านต่อ