ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 17-21 ก.ค. 64 ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง + แม่น้ำสายหลัก ภาคกลาง ภาคตะวันออก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคใต้ มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแม่น้ำโขง มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มทรงตัว + ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 35,915 ล้าน ลบ.ม. (44%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 31,503 ล้าน ลบ.ม. (44%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 8 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 2 แห่ง (อ่างฯน้ำพุง และจุฬาภรณ์)+ ในระยะนี้ ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนกลาง กอนช.ติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ในช่วงวันที่ 1-15 ก.ค.64 พบว่ามีปริมาณน้ำไหลเข้ารวม 1,222 ล้าน ลบ.ม. ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ดังนี้ ภาคเหนือ ปริมาณน้ำไหลเข้ารวม 405 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯสิริกิติ์ 211 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณน้ำไหลเข้ารวม 257 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ ลำปาว 90 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลาง ปริมาณน้ำไหลเข้ารวม 16 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ กระเสียว 12 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก ปริมาณน้ำไหลเข้ารวม 59 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ ขุนด่านปราการชล 17 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันตก ปริมาณน้ำไหลเข้ารวม 245 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ ศรีนครินทร์ 121 ล้าน ลบ.ม. ภาคใต้ ปริมาณน้ำไหลเข้ารวม 240 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯรัชชประภา 188 ล้าน ลบ.ม. กอนช. เน้นย้ำให้หน่วยงานติดตามสถานกาณ์น้ำ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมตาม 10 มาตรการ รับมือฤดูฝน