มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนใต้ ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง+ แม่น้ำสายหลัก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำน้อยถึงปกติ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคกลาง มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง ภาคใต้ ภาคตะวันออก และแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง+ ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 35,831 ล้าน ลบ.ม. (44%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 31,442 ล้าน ลบ.ม. (44%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 8 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 1 แห่ง (อ่างฯน้ำพุง)+ กอนช. ติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย โดยเมื่อวันที่ 10 ก.ค.64 เกิดอุทกภัย 3 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ ตรัง และระนอง รวม 5 อำเภอ 12 ตำบล 28 หมู่บ้าน ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือน 5 หลังคาเรือน พื้นที่การเกษตร 110 ไร่ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ทั้งนี้ จากการติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในวันที่ 14-19 ก.ค. 64 ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการเตรียมรับมือ ดังนี้กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการพร่องน้ำเพื่อลดระดับน้ำใน คู คลองต่าง ๆ โดยอาศัยระบบอาคารบังคับน้ำต่าง ๆ พร้อมกำจัดสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ จังหวัดจันทบุรี โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี ได้เตรียมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่เพื่อขุดลอกคูคลอง ในเขต อ.เมือง จ.จันทบุรี กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ในพื้นที่จุดเสี่ยง เขตเทศบาลเมืองจันทบุรี กอนช. เน้นย้ำให้หน่วยงานเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ ระบบระบายน้ำ รวมทั้งเครื่องจักรเครื่องมือ รองรับในพื้นที่จุดเสี่ยงพร้อมช่วยเหลือประชาชนได้ตลอดเวลา