+ ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก+ ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.สกลนคร (91) จ.จันทบุรี (74) จ.เชียงราย (67) และ จ.ระนอง (67)+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 56,161 ล้าน ลบ.ม. (68%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 48,887 ล้าน ลบ.ม. (68%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แม่มอก ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่านฯ คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล และบึงบระเพ็ด+ เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่ย้ำชี-มูล ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2565 ดังนี้1. ลุ่มน้ำชี บริเวณ จ.กาฬสินธุ์ บริเวณ อ.กมลาไสย กุฉินารายณ์ ฆ้องชัย เมืองกาฬสินธุ์ ยางตลาด และร่องคำ จ.ขอนแก่น บริเวณ อ.โคกโพธิ์ไชย ชนบท บ้านแฮด พระยืน มัญจาคีรี แวงน้อย และแวงใหญ่ จ.ชัยภูมิ บริเวณ อ.คอนสวรรค์ เนินสง่า และเมืองชัยภูมิ จ.นครราชสีมา บริเวณ อ.แก้งสนามนาง และบ้านเหลื่อม จ.มหาสารคาม บริเวณ อ.โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เมืองมหาสารคาม และ จ.ยโสธร บริเวณ อ.ค้อวัง คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย และเมืองยโสธร จ.ร้อยเอ็ด บริเวณ อ.จังหาร เชียงขวัญ ทุ่งเขาหลวง ธวัชบุรี พนมไพร โพธิ์ชัย โพนทอง เมยวดี เมืองสรวง สุวรรณภูมิ เสลภูมิ และอาจสามารถ2. ลุ่มน้ำมูล บริเวณ จ.นครราชสีมา บริเวณ อ.ชุมพวง ลำทะเมนชัย และเมืองยาง จ.บุรีรัมย์ บริเวณ อ.แคนดง และสตึก จ.สุรินทร์ บริเวณ อ.ชุมพลบุรี ท่าตูม และรัตนบุรี จ.ศรีสะเกษ บริเวณ อ.บึงบูรพ์ ห้วยทับทัน ราษีไศล เมืองศรีสะเกษ และกันทรารมย์ จ.อุบลราชธานี บริเวณ อ. เขื่องใน เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์ + พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 4/2565 และได้มอบหมายให้หน่อยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้• สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กอนช. ติดตามผลการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างและจังหวัดข้างเคียง ได้แก่ จ.สตูล และรายงานความก้าวหน้าให้รัฐบาลทราบ• กำชับให้เร่งดำเนินโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำในพื้นที่ชุมชน จ.นราธิวาส ให้แล้วเสร็จตามแผน• เร่งเตรียมความพร้อมโครงการสำคัญที่จะดำเนินการในปี 66-67 อีกจำนวน 25 โครงการ ซึ่งจะมีพื้นที่รับประโยชน์และได้รับการป้องกัน กว่า 230,000 ไร่ เช่น ระบบป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ชุมชนบูเก๊ะตา จ.นราธิวาส ระบบป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ชุมชนเมืองยะลา ระยะที่ 2 จ.ยะลา สถานีสูบน้ำดิบรองรับการพัฒนาเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จ.ปัตตานี อ่างเก็บน้ำคลองแก้ว จ.สงขลา คลองระบายน้ำ คลองละงู-คลองน้ำเค็ม จ.สตูลสำหรับโครงการฯ น้ำในพื้นที่ จ.นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา และสตูล ในปี 61-64 มีการดำเนินการกว่า 3,700 โครงการ พื้นที่รับประโยชน์และได้รับการป้องกัน กว่า 320,000 ไร่ ครัวเรือนรับประโยชน์ กว่า 240,000 ครัวเรือน สทนช. จะติดตามประเมินผลพร้อมเร่งรัดหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ดำเนินการแล้วเสร็จตามข้อสั่งการอย่างเคร่งครัด เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็วที่สุด