+ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่งและบริเวณภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักมากบางแห่ง+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ กรุงเทพมหานคร (166 มม.) จ.หนองบัวลำภู (103 มม.) และ จ.ยะลา (101 มม.) + แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น + ปัจจุบันเกิดพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. – 3 ต.ค. 65 บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก อุตรดิตถ์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่นนครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ มุกดาหาร สระบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และพังงา+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 62,885 ลบ.ม. (77%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 52,449 ล้าน ลบ.ม. (77%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 23 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง สิรินธร ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบระเพ็ด+ รัฐบาลโดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามสถานการณ์อุทกภัย เนื่องจากอิทธิพลพายุ “โนรู” (NORU) ทำให้ฝนตกหนักมากและเกิดน้ำหลากน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ของประเทศ สั่งการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาอุทกภัยให้กลับสู่ภาวะปกติ และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว พร้อมวางแผนป้องกันและรับมือล่วงหน้าโดยการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี และภาคกลาง จ.ชัยนาท วานนี้ (3 ต.ค. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามการดำเนินการโครงการด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดชัยนาทและพระนครศรีอยุธยา พร้อมติดตามสถานการณ์เขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณอำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง และสถานการณ์น้ำแม่น้ำน้อย บริเวณที่ว่าการอำเภอเสนา จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมลงพื้นที่วัดโบสถ์(ล่าง) อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และขอให้ทุกหน่วยงานสนับสนุนการทำงานของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงานอย่างเป็นเอกภาพ เร่งแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้• กรมชลประทาน (ชป.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว • จังหวัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และกระทรวงการคลัง ร่วมกันพิจารณามาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และ กษ. พิจารณาแผนการปลูกพืชในพื้นที่ลุ่มต่ำที่ใช้เป็นพื้นที่รับน้ำหลาก เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร และเตรียมแผนการส่งน้ำเข้าทุ่ง เพื่อช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่• สทนช. เร่งรัดขับเคลื่อนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งน้ำท่วม เพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำในระดับพื้นที่• ชป. เร่งรัดการก่อสร้างคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
![](http://www.onwr.go.th/wp-content/uploads/2022/10/04.10.65.jpeg)