+ บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนลดลง แต่บริเวณภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (141 มม.) จ.เพชรบุรี (75 มม.) และ จ.ชุมพร (74 มม.) + แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น +ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 19 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ ตาก พิจิตร นครสวรรค์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีขอนแก่น เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี ปราจีนบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 65,181 ลบ.ม. (79%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 57,262 ล้าน ลบ.ม. (80%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 23 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง สิรินธร ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบระเพ็ด+ ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 48/2565 เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำชีกอนช.ติดตามปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์อย่างต่อเนื่องในวันนี้ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนประมาณ 170 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งสามารถระบายออกได้เพียงวันละ 41 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ระดับน้ำเพิ่มจนเกินระดับเก็บกักสูงสุดและยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ระดับน้ำ +183.35 ม.รทก. สูงกว่าระดับเก็บกักปกติ 1.15 ม. ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำ 2,878 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 119 มีปริมาตรเกินความจุ 458 ล้าน ลบ.ม. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึง กอนช. แจ้งเตือนระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์เข้าสู่สภาวะวิกฤต ระดับ 3 คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับวิกฤตหรือสูงกว่าคันดินโนนสัง ซึ่งเป็นคันดินป้องกันชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเขื่อนอุบลรัตน์ ดังนี้1. ระดับน้ำจะสูงถึงระดับเตือนภัย (+183.50 ม.รทก. ) ในวันที่ 7 ต.ค. 65 2. ระดับน้ำจะสูงถึงระดับวิกฤต (+184.00 ม.รทก.) ในวันที่ 8 ต.ค. 65 เพื่อควบคุมปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของตัวเขื่อน กฟผ.จึงมีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำ ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. 65 ซึ่งจะทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์มีระดับน้ำสูงขึ้นและอาจกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณ อ.อุบลรัตน์ เขาสวนกวางซำสูง น้ำพอง และเมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เฝ้าระวังพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในปัจจุบันจะมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก และเฝ้าระวังพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำชี ตั้งแต่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร+ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 49/2565 เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณจ.นครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 3,077 ลบ.ม./วินาที ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวจะไหลมารวมกับแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขาไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา โดยกรมชลประทานได้พิจารณารับน้ำเข้าคลองฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกเต็มศักยภาพคลองที่สามารถรองรับน้ำได้ ปัจจุบันระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ +17.64 ม.รทก. ซึ่งสูงกว่าระดับเก็บกัก 1.14 (+16.50 ม.รทก.) เพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของบานระบายน้ำและตัวเขื่อนเจ้าพระยา กรมชลประทานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ +17.60 ม.รทก. ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตรามากกว่า 2,900 – 3,000 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค. 65 ประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้คาดการณ์ระดับน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ จ.สมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ โดยระดับน้ำจะมีความสูงประมาณ 1.90 – 2.20 ม.รทก. ในช่วงวันที่ 8 – 13 ต.ค. 65