+ บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนลดลง แต่บริเวณภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นราธิวาส (100 มม.) จ.นครศรีธรรมราช (98 มม.) และ จ.สงขลา (87 มม.) + แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น +เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ เนื่องจากระดับน้ำเกินระดับเก็บกักและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำตามมติที่ประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำชีปริมาณน้ำที่ระบายในวันที่ 6 ต.ค. 65 ปริมาณ 41 ล้าน ลบ.ม. +เฝ้าระวังแม่น้ำป่าสัก-เจ้าพระยา ระดับน้ำเพิ่มสูง บริเวณ ดังนี้ – ริมแม่น้ำป่าสักด้านท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ถึงเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.40-1.00 เมตร – ท้ายเขื่อนพระรามหก ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.40-0.60 เมตร – จุดบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.25-0.50 เมตร+ปัจจุบันเกิดยังคงมีสถานการณ์ใน 21 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก นครสวรรค์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 64,577 ลบ.ม. (79%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 56,658 ล้าน ลบ.ม. (79%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 23 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง สิรินธร ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบระเพ็ด+ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศและกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัย เพื่อได้นำไปปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย1. พยากรณ์ และคาดการณ์ลักษณะอากาศ สถานการณ์น้ำ และพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย แจ้งเตือนประชาชนเตรียมความพร้อมในการรับมือ 2. เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัย3. จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร แจ้งเตือนประชาชนใช้ความระมัดระวัง หรือหลีกเสี่ยงเส้นทางให้ชัดเจน 4. เมื่ออุทกภัยคลี่คลาย ให้เร่งสำรวจผลกระทบ ความเสียหายในด้านต่าง ๆ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว 5. เมื่อเกิดน้ำท่วมขัง ให้ฝ่ายปกครอง ร่วมกันกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมทั้งบูรณาการหน่วยงานใช้เครื่องจักรกลสาธารณภัยเปิดทางน้ำ หรือสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ 6. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงแผนการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำในระดับพื้นที่ 7. ให้กรมประชาสัมพันธ์ และจังหวัด สร้างการรับรู้ผลการดำเนินการของภาครัฐ ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึง 8. การให้บริการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ต้องให้บริการได้นานและต่อเนื่องที่สุด และต้องมีแผนสำรองด้านการสื่อสาร 9. เตรียมแผนรองรับในพื้นที่เศรษฐกิจ โรงพยาบาล สาธารณสุข เกษตรกร ชาวประมง ปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ให้มีแผนสื่อสารที่ชัดเจนว่าจะได้รับการดูแลอะไรบ้าง 10. การเตรียมความพร้อมศูนย์อพยพต้องเพียงพอ