+ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง + ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (131) จ.ระนอง (129) และ จ.นครสวรรค์ (127)+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 65,690 ล้าน ลบ.ม. (80%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 57,765 ล้าน ลบ.ม. (81%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 25 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แม่มอก กิ่วลม กิ่วคอหมา แควน้อย ทับเสลา กระเสียว ป่าสัก ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินทร ขุนด่านฯ คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทรจินดา และบึงบระเพ็ด+ ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 46/2565 เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำยม กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามสถานการณ์น้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (Y.14) วันที่ 2 ต.ค. 65 เมื่อเวลา 16.00 น. ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ +70.67 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง และบริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ +63.97 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำที่บริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อัตรา 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ Y.4 (อำเภอเมืองสุโขทัย) มีระดับสูงขึ้น โดยจะควบคุมปริมาณน้ำผ่านในอัตราสูงสุดไม่เกิน 510 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ ตั้งแต่บริเวณอำเภอสวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอพรหมพิรามและบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่ามและโพทะเล จังหวัดพิจิตร+ ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 48/2565• เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำชี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึง กอนช. แจ้งเตือนระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์เข้าสู่สภาวะวิกฤต ระดับ 3 คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับวิกฤตหรือสูงกว่าคันดินโนนสัง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์มีระดับน้ำสูงขึ้นและอาจกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณ อ.อุบลรัตน์ เขาสวนกวาง ซำสูง น้ำพอง และเมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น และเฝ้าระวังพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำชี ตั้งแต่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร• ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 49/2565 เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานต้องควบคุมระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ +17.60 ม.รทก. ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตรามากกว่า 2,900 – 3,000 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค. 65 ประกอบกับคาดการณ์ระดับน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ จ.สมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ โดยระดับน้ำจะมีความสูงประมาณ 1.90 – 2.20 ม.รทก. ในช่วงวันที่ 8 – 13 ต.ค. 65+ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2/2565 และการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1/2565โดยที่ประชุมได้เห็นชอบและให้นำเสนอแนวคิดต่อ กนช. และให้ กทม.เร่งรัดดำเนินการแผนงานในกลุ่มที่ 1 ระยะที่ 1 (เร่งด่วน) การปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่ กทม. แบ่งเป็น ระยะที่ 1 (เร่งด่วน) เช่น งานปรับปรุงระบบสูบน้ำ ระบบไฟฟ้า และระบบเก็บขยะ สถานีสูบน้ำพระโขนง โครงการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กจากคลองหนองบอน และคลองมะขามเทศ เชื่อมโยงกับคลองประเวศบุรีรมย์ เพื่อเสนอขอรับงบประมาณในปี 2567 รวมทั้งให้เร่งศึกษาภาพรวมการระบายน้ำพื้นที่ กทม. ฝั่งตะวันออกให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับแผนงาน/โครงการของหน่วยงานอื่น เช่น โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างของกรมชลประทาน และแผนงานระบบระบายน้ำของเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ จ.สมุทรปราการ เพื่อให้การระบบระบายน้ำมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างทันท่วงที และให้เร่งรัดการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ดำเนินการได้โดยเร็วทั้งนี้ ยังได้รับทราบความก้าวหน้าการขับเคลื่อนโครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จ.จันทบุรี โดยให้กรมชลประทานเร่งประสานกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้เห็นชอบในการขอใช้พื้นที่โดยเร็ว และยังได้เห็นชอบร่างแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 – 2580)