+ ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.กาญจนบุรี (118 มม.) จ.สมุทรสงคราม (117 มม.) และ จ.ชลบุรี (112 มม.) + แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น + ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 48/2565เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำชี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึง กอนช. แจ้งเตือนระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์เข้าสู่สภาวะวิกฤต ระดับ 3 คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับวิกฤตหรือสูงกว่าคันดินโนนสัง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์มีระดับน้ำสูงขึ้นและอาจกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณ อ.อุบลรัตน์ เขาสวนกวาง ซำสูง น้ำพอง และอ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น และเฝ้าระวังพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำชี ตั้งแต่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร+ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ได้คาดการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำชีด้านท้ายอ่างฯอุบลรัตน์ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 8 – 13 ตุลาคม 2565 ดังนี้1. อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ.โกสุมพิสัย อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.10 – 0.50 เมตร 2. อ.จังหาร อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.10-0.60 เมตร 3. อ.เมืองยโสธร อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.30 เมตร+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 66,440 ลบ.ม. (81%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 58,485 ล้าน ลบ.ม. (82%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 24 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง สิรินธร ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร บึงบระเพ็ด และหนองหาร+ วานนี้ (10 ต.ค. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครั้งที่ 3/2565 ด้วยรัฐบาลมีความห่วงใยต่อสถานการณ์น้ำเนื่องจากปริมาณฝนในปีนี้มากกว่าค่าปกติ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ดังนี้- ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่ยังประสบปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ชีและมูล พร้อมกำชับให้เร่งดำเนินการบริหารจัดการน้ำให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด- บริหารจัดการน้ำทุกแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำมากกว่า 80% ของความจุ หรือมากกว่าระดับควบคุม ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงแข็งแรงและอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้านท้ายน้ำของอ่างเก็บน้ำ โดยให้บริหารจัดการให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม – ตรวจสอบคัน ทำนบ และพนังกั้นน้ำบริเวณพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำให้มีความมั่นคงปลอดภัย – บริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝน – เร่งแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในจุดต่าง ๆ ที่มีน้ำท่วมขังออกสู่ลำน้ำสายหลักเพื่อระบายออกสู่ทะเลโดยเร็วทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ (ร่าง) 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 65/66 และให้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโดยเร็วก่อนเข้าสู่ฤดูแล้งในต้นเดือน พ.ย. พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามมาตรการดังกล่าวและจัดส่งให้ สทนช. เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมาตรการและติดตามประเมินผลต่อไป