ประเทศไทยทบทวนแผนการบริหารจัดการน้ำจากความกดดัน
ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศไทยกำลังสำรวจปริมาณน้ำเพื่อเตรียมรับมือกับฤดูแล้งที่จะมาถึงและความต้องการ
ใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น สำนักพิมพ์ Global
Water Intelligence (GWI) แห่งสหราชอาณาจักร
ได้หารือกับหน่วยงานด้านน้ำชั้นนำของประเทศเกี่ยวกับความท้าทายหลักและวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดความตึงเครียดด้านทรัพยากรน้ำในประเทศไทย หลากหลายกลยุทธ์ที่นำมาปรับใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอาจก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ในด้านการส่งน้ำ การลดปริมาณน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-revenue water: NRW) รวมถึงวิธีอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหาด้านน้ำ
หลังเกิดความแห้งแล้งในครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๓ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานกลางด้านน้ำของประเทศไทยอาศัยช่วงเวลาที่ฤดูฝน ทบทวนแผนการบริหารจัดการน้ำ โดยปรับปรุงการจัดสรรน้ำและการกระจายน้ำ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและการลดการพึ่งพาน้ำผิวดิน
ดร. สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวกับ GWI ว่าจากเหตุการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา สทนช. มีการทบทวนกระบวนการในการบริหารจัดการน้ำทั้งหมดในช่วงฤดูมรสุมนี้ ดร. สมเกียรติ กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องเตรียมแผนให้ครอบคลุมไปจนถึงฤดูแล้งหน้า
ผมคิดว่าแผนการบริหารจัดการน้ำต้องเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่ ๖ เดือน แต่เราต้องวางแผนให้ครอบคลุมตลอดทั้งปี”
สทนช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ รวมถึงกฎหมายน้ำฉบับใหม่และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ โดยงบประมาณที่หน่วยงานคาดการณ์ไว้ได้ถูกปรับลดลง เนื่องด้วยต้องจัดสรรงบประมาณไปรับมือสถานการณ์ COVID-19 ทั้งนี้ รัฐบาลอาจมีการกู้ยืมเงินเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านน้ำในระยะยาว เนื่องจากภาคส่วนน้ำยังคงมีความสำคัญในลำดับต้น
ประการแรกต้องดำเนินการด้านอุปสงค์และอุปทาน ดร. สมเกียรติ กล่าวว่า “เราต้องลด
ความต้องการน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำมากขึ้น” ระบบกระจายน้ำในปัจจุบันพบว่าในเขตพื้นที่ EEC อัตราการสูญเสียน้ำอยู่ที่ประมาณร้อยละ ๓๐ โดยการสูญเสียน้ำในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ จะมีระดับ
ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น จะเห็นได้ว่ายังคงมีช่องว่างให้ดำเนินการเกี่ยวกับการลดปริมาณน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับการเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนให้ได้มากที่สุด จึงเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์นี้ แต่อาจเป็นการยากเนื่องด้วยสถานการณ์ COVID-19 ทำให้การดำเนินการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวถูกชะลอไว้ก่อนชั่วคราว
ในด้านอุปทาน ความท้าทายคือการรักษาสมดุลของความต้องการน้ำจากชุมชน
อุตสาหกรรม
การท่องเที่ยว และเกษตรกรรมซึ่งได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างไม่เท่าเทียมกัน
ดร. สมเกียรติ ได้กล่าวกับ GWI ว่า “ปริมาณฝนตกที่ตกลงมานั้นไม่เพียงพอซึ่งน้อยกว่า
ร้อยละ ๑๐ จากปริมาณปกติ แต่หากพิจารณาการแผ่กระจายของปริมาณฝนในบางพื้นที่แล้ว อาจน้อยกว่า
ร้อยละ ๔๐ เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณฝนตกเฉลี่ย” ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สทนช. ได้ดำเนินการสูบน้ำจากบริเวณท้ายเขื่อนขึ้นเก็บในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนซึ่งเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนตกน้อย
การดำเนินการนี้ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงาน
ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีทางเลือกอื่นที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ทั้งนี้
ยังมีโครงการที่ได้วางแผนไว้ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศอีกหลายโครงการ
ซึ่งรวมถึงโครงการส่งน้ำและระบบกระจายน้ำด้วย
การดำเนินงานล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนาและอำนวยความสะดวกในด้านการจัดสรรน้ำคือ
การบริหารจัดการน้ำโดยอาศัยระบบลุ่มน้ำ ซึ่งในปีนี้ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำขึ้นใหม่
ดร. สมเกียรติ กล่าวว่า “ปีนี้เป็นปีแรกที่เราพยายามที่จะกระตุ้นคณะกรรมการลุ่มน้ำให้จัดทำแผนการจัดสรรน้ำรายฤดู ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าเขามีความต้องการใช้น้ำเท่าไหร่
และจะสามารถหาน้ำได้จากที่ไหน”
พร้อมอธิบายว่า หากความต้องการใช้น้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ประชาชนจำเป็นต้องร้องขอน้ำผ่านกลไกของคณะกรรมการลุ่มน้ำ
สำหรับพื้นที่เขตอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยกล่าวคือ
พื้นที่ EEC มีแนวโน้มว่าในรอบ ๒๐ ปี ความต้องการใช้น้ำอาจมีปริมาณมากกว่าทรัพยากรน้ำที่มีอยู่
ดร. สมเกียรติ
อธิบายว่า “เราเชื่อว่าความต้องการใช้น้ำจะเพิ่มขึ้นถึง ๓ ล้าน ลูกบาศก์เมตร ต่อปี” โดยจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง
๖๐๐ ล้าน ลูกบาศก์เมตร
จากระดับปัจจุบัน ดังนั้น จำเป็นต้องมีการเก็บกักน้ำให้ได้ในปริมาณ ๒๐๐
ล้าน ลูกบาศก์เมตร สำหรับ
ความต้องการในพื้นที่
ในขณะที่มีการวางแผนสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำขึ้นใหม่ บางโครงการอาจไม่สามารถดำเนินการได้
เนื่องด้วยผลกระทบที่มีต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จำเป็นมีการปรับเปลี่ยนโดยอาศัยวิธีการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่และกระบวนการเปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำจืดเพื่อทดแทนการใช้น้ำผิวดิน ด้วยความพยายามเป็นอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับโรงงานผลิตน้ำจืดจาก
น้ำทะเล ดร. สมเกียรติ กล่าวว่า ในด้านการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่จำเป็นต้องมีการหารือกันในระดับชุมชน เช่น เมืองพัทยาที่มีการผลิตน้ำเสียในปริมาณมาก ทั้งนี้ มีการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำน้ำบาดาลมาผลิตเป็นน้ำเพื่อการบริโภคในพื้นที่อีกด้วย