“รมต.จักรพงษ์” ประชุมด่วนติดตามน้ำท่วม ย้ำความช่วยเหลือต้องเข้าถึงโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติ
รมต.จักรพงษ์ เรียกประชุมหน่วยงานด้านน้ำเร่งด่วน ติดตามสถานการณ์อุทกภัย สั่งการให้ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยให้กลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด ย้ำแม้สถานการณ์ไม่หนักเท่าปี 54 แต่ต้องเฝ้าระวังพายุจรอย่างใกล้ชิด วันนี้ (26 ส.ค. 67) นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมประเมินติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมีดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)...
อ่านต่อสทนช. ลุยภาคเหนือต่อเนื่อง ลงพื้นที่ จ.ลำปางและพะเยา เตรียมพร่องน้ำจากอ่างฯ กิ่วลม – กิ่วคอหมา และกว๊านพะเยา รองรับฝนอีกระลอกเดือน ก.ย. นี้
สทนช. ลงพื้นที่ จ.ลำปางและพะเยา เตรียมพร้อมรับฝนที่อาจจะตกหนักอีกระลอกช่วงเดือน ก.ย. นี้ มอบกรมชลประทานพร่องน้ำเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำในอ่างฯ กิ่วลม – กิ่วคอหมา และกว๊านพะเยา โดยให้ดำเนินการในช่วงอุทกภัยคลี่คลายแล้วและจะต้องไม่กระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ เผยระดับน้ำฝั่งตะวันออกของ จ.พะเยา ลดลงแล้ว อยู่ระหว่างเร่งฟื้นฟู เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 67 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามสถานการณ์น้ำภาคเหนือ ณ จังหวัดลำปางและจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเดินทางไปยังจังหวัดลำปาง เพื่อติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ในพื้นที่ ณ ห้องประชุมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา ตำบลบ้านแลง อำเภอมืองลำปาง...
อ่านต่อสทนช. ลุยแก้น้ำท่วมภาคเหนือ คาด จ.แพร่ กลับสู่สภาวะปกติใน 2 วัน เคาะแนวทางจัดการลุ่มน้ำยม – น่าน ไม่ให้มวลน้ำตอนบนกระทบพื้นที่ จ.พิษณุโลก และสุโขทัย
สทนช. ลงพื้นที่ภาคเหนือตามข้อสั่งการรองนายกฯ ภูมิธรรม วางแนวทางบริหารจัดการลุ่มน้ำยม – น่าน ป้องกันมวลน้ำจาก จ.แพร่ ไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ จ.พิษณุโลกและสุโขทัย เร่งแก้ปัญหาทางรถไฟกีดขวางการระบายน้ำ แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงให้เกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวได้ทันเวลา ชี้ระดับน้ำใน จ.แพร่ ทยอยลดลงแล้ว คาดกลับสู่สภาวะปกติภายใน 2 วันนี้ เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 67 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามสถานการณ์น้ำภาคเหนือ ณ จ.พิษณุโลก และ จ.แพร่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเดินทางไปยัง จ.พิษณุโลก เพื่อติดตามผลการดำเนินการมาตรการฤดูฝน ปี 67...
อ่านต่อรักษ์โลกด้วยมือเรา
#ตรัยวาริน วันนี้เราจะพาไปสืบค้นเรื่องราวของเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับหลวงพระบางของประเทศลาว นั่นก็คือเมืองน่านของไทยเรานั่นเอง น่านเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศิลปะล้านนาซึ่งเป็นศิลปะที่ใกล้เคียงกับศิลปะล้านช้างของลาว และงดงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เช่น ที่วัดภูมินทร์ที่มีความอ่อนช้อยสวยงามไม่แพ้วัดต่างๆ ในเมืองหลวงพระบาง ภายในวัดยังมีศิลปภาพวาดปู่ม่าน&ย่าม่าน ซึ่งเป็นภาพกระซิบรักบันลือโลกที่แสนจะโรแมนติกสะท้อนให้เรารู้เรื่องราวแห่งความรักในอดีตของชาวล้านนาเมืองน่าน คู่รักใดมาพบเห็นย่อมอดใจไม่ไหวที่จะแอบเลียนแบบถ่ายรูปคู่กับปู่และย่าคู่นี้ไว้เป็นที่ระลึก เมืองน่านยังคงมีธรรมชาติที่เป็นลักษณะทิวเขาที่สลับซับซ้อนงดงาม อากาศเย็นสบายทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาดื่มด่ำกับชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ จิบกาแฟร้อนๆท่ามกลางภูเขา แมกไม้และลำธาร ทำให้ดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญหลายสายอาทิ ลำน้ำปาด ลำน้ำน้ำว้า ลำน้ำปัว ลำน้ำสมุน เป็นต้น โดยไหลมารวมกันเป็น แม่น้ำน่านซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสำคัญที่ไหลมารวมกับแม่น้ำปิง วังและยมกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเลือดใหญ่ของไทย แม่น้ำน่านก็ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตพลังงานสะอาดเช่นกันในชื่อเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และนับว่าเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดของบ้านเรากันเลยทีเดียว สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 500,000 กิโลวัตต์ ภายใต้การดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญทั้งการประมง และการเกษตร ทุก ๆ ปีฝนที่ตกลงบนขุนเขาที่เรียงรายในจังหวัดน่าน จะไหลลงสู่ลำน้ำสาขาต่างๆ ไปสู่ลำน้ำน่านสายหลัก หากขุนเขาใดมีต้นไม้หรือป่าหนาแน่น...
อ่านต่อ📣📣สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ขอเชิญชวน หน่วยงานของรัฐ และประชาชน ร่วมแสดงความคิดเห็นในการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
Online : ผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) หรือสแกน QR codeOnsite :ภาคเหนือ : 2 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 5 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่นภาคกลาง : 8 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมแคนทารี่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาภาคใต้ : 13 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมไดมอนด์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและ สิงหาคม 2567 ณ...
อ่านต่อ“เลขาธิการ สทนช.” นำคณะประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงศึกษาดูงาน “เขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล”กระชับความสัมพันธ์การพัฒนาโครงการร่วมระหว่างประเทศ
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พร้อมด้วย นายชุมลาภ เตชะเสน ผู้ช่วยเลขาธิการ สทนช. และ ดร.วินัย วังพิมูล ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สทนช. นำคณะประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (กัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม) (MRC) และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) เยี่ยมชมโครงการเขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล เพื่อศึกษาความร่วมมือการบริหารจัดการโครงการระหว่างประเทศ สำหรับ เขื่อนอีไตปู สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1974 แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1982 ตั้งอยู่บนแม่น้ำพารานา ระหว่างประเทศบราซิลและปารากวัย ลักษณะของเขื่อนอิไตปู เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งชนิดเขื่อนแบบกลวง มีความยาวประมาณ 7,919...
อ่านต่อสทนช. เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
วันนี้ (28 กรกฎาคม 2567) นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สทนช. เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ดังนี้ เวลา 07.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตร เพื่อถวายพระราชกุศล ณ บริเวณท้องสนามหลวง เวลา 08.00 น. พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ณ เวทีใหญ่ ท้องสนามหลวง จากนั้น...
อ่านต่อลุ่มน้ำของเรา….เราต้องดูแล
สลิลธาราอารัญ หากนึกย้อนฉากทัศน์ไปสมัยยังเด็ก ชีวิตของฉันและครอบครัวผูกพันอยู่กับลำน้ำ คนในชุมชนทุกบ้านมีวิถีชีวิตอยู่ริมน้ำ ตั้งแต่ลืมตาใส่บาตรเรือพระจนกระทั่งอาบน้ำในคลองก่อนเข้านอน สัญจรไปมาด้วยลำคลองสายยาวสุดสายถึงชายฝั่งทะเลและบางลำน้ำก็เข้าไปถึงย่านสำคัญๆ ใจกลางเมือง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด… เพราะลำน้ำสำคัญต่อชุมชนเช่นนี้ตอนเด็กฉันจึงมักได้เห็นและได้ยินเรื่องราวหรือกิจกรรมเพื่อดูแลรักษาลำน้ำของกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชน บ่อยครั้งที่มีเรือลำใหญ่มาเก็บขยะหรือขุดลอกคูคลอง มีการประชุม (ส่วนใหญ่จะที่วัด) ในวาระต่างๆ เกี่ยวกับลำน้ำ เช่น การร่วมสร้างเขื่อนหินกันตลิ่งทรุด การลดหรือเพิ่มเรือโดยสารสาธารณะ การสร้างสะพานข้ามคูคลอง เป็นต้นและไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมหนัก หรือ น้ำแล้งวิกฤติอย่างไร ชาวบ้านต่างก็ใช้สายน้ำเชื่อมต่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนผ่านทุกเหตุการณ์มาได้ นั่นคือภาพแหล่งน้ำในมุมมองแคบ ๆ เพียงย่านที่ฉันเกิดในวัยเด็ก…..วันนี้ที่ฉันเติบโตขึ้นมาและได้รู้จักกับแหล่งน้ำในภาพที่กว้างขึ้น ก็พบว่าประเทศไทยของเรามีถึง 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ ที่มีบริบทที่แตกต่างกันไปด้วยปัจจัยแห่งสภาพภูมิประเทศ การพัฒนาของพื้นที่ วิถีแห่งผู้คน อาชีพ การดำรงชีวิต ฯลฯ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาที่เกิดในแต่ละลุ่มน้ำจึงแตกต่างกัน...
อ่านต่อ