คู่มือฝายดินซีเมนต์
คู่มือฝายดินซีเมนต์ อ่านที่นี่
อ่านต่อสทนช.จับมือหน่วยงาน ลุยทำแผนบูรณาการน้ำระดับอำเภอนำร่อง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก แก้ปัญหาน้ำยั่งยืน
สทนช.จับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ลุยจัดทำแผนบูรณาการและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับอำเภอ นำร่องพื้นที่แรก อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ร่วมรับฟังปัญหาและความต้องการด้านน้ำในมิติต่างๆ เร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ มุ่งต่อยอดขยายผลแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค น้ำท่วม-น้ำแล้งและคุณภาพน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 5-7 เม.ย. 67 เพื่อติดตามพื้นที่เสี่ยงการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ในพื้นที่อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง และประชุมจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ อำเภอท่าสองยาง โดยมี นายสุรพล วงศ์สุขพิศาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการ สทนช. นายอนันต์ เพ็ชร์หนู ผู้อำนวยการ สทนช.ภาค...
อ่านต่อ“รองนายกฯ สมศักดิ์” ห่วงชาวริมโขงหลังเหตุสารเคมีรั่วไหลที่ สปป.ลาว สั่ง สทนช. เกาะติดสถานการณ์ใกล้ชิด
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี สั่ง สทนช. ติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขงใกล้ชิด หลังเกิดอุบัติเหตุทำให้มีกรดซัลฟิวริกรั่วไหลลงสู่แม่น้ำคาน แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง โดยผลจากการตรวจวัดคุณภาพน้ำ ณ แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ วันนี้ (6 เม.ย. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงกรณีเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลลงแม่น้ำคาน ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง เมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 3 เม.ย. 67 ว่า จากการตรวจสอบเหตุดังกล่าว พบว่า สถานที่เกิดเหตุอยู่ที่หมู่บ้าน Ban Phou Xang Kham...
อ่านต่อ“หนองหาร.. .อู่ข้าวอู่น้ำของชาวสกลนคร”
#สลิลธาราอารัญ หากคำว่า “อู่ข้าวอู่น้ำ” จะหมายถึง พื้นที่หรือดินแดนที่เป็นแหล่งผลิตอาหารให้กับมนุษย์และสัตว์ ก็ถือได้ว่า “พื้นที่ชุ่มน้ำ” ทั่วประเทศก็คือ “อู่ข้าวอู่น้ำ” ทางธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ในพื้นที่โดยรอบนั่นเอง เพราะพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือ Wetlands ได้แก่ แหล่งน้ำประเภทต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น คือแหล่งผลิตห่วงโซ่อาหารที่มีทรัพยากรและผลผลิตทางธรรมชาติที่มนุษย์สามารถนำไปใช้ผลประโยชน์ได้มากมาย และยังมีความสำคัญทางนิเวศวิทยา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม รวมไปถึงวิถีชีวิตชุมชนอีกด้วย พื้นที่ชุ่มน้ำจำนวนมากทั่วประเทศ ได้ถูกจัดแบ่งความสำคัญเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับระหว่างประเทศ ระดับนานาชาติ ความสำคัญระดับชาติ และ ระดับท้องถิ่น ในจำนวนนี้ก็มี “หนองหาร” จังหวัดสกลนคร ที่ได้รับการจัดลำดับให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ เพราะเป็นทั้งแหล่งน้ำผิวดินในการอุปโภคและบริโภคของชุมชนเมืองสกลนครและพื้นที่โดยรอบ และยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาน้ำจืดและนกน้ำหลากหลายสายพันธุ์จึงนับได้ว่าเป็น “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของชาวสกลนครอย่างแท้จริง...
อ่านต่อ“รองนายกฯ สมศักดิ์” เคาะ 10 มาตรการรับมือฝนปี 67 ก่อนเสนอ ครม.สั่งหน่วยงานเร่งทำแผนปฏิบัติการ เตรียมพร้อมรับลานีญาแทนสภาวะเอลนีโญที่อ่อนกำลังลง
“รองนายกฯ สมศักดิ์” นั่งเก้าอี้ประธานการประชุม กนช. เห็นชอบ (ร่าง) 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 67 ก่อนเตรียมเสนอ ครม. พร้อมสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับมาตรการฯ คาดไทยเข้าสู่สภาวะลานีญาช่วง มิ.ย.-ส.ค.นี้ วันนี้ (27 มี.ค. 67) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 1/2567 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล...
อ่านต่อรองนายกฯ “สมศักดิ์” เปิดงาน “วันน้ำโลก” ปี 67 ธีม “น้ำเพื่อสันติภาพ”
พร้อมเปิดตัว “เชอรี่ เข็มอัปสร” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ สทนช. ร่วมรณรงค์ “อนุรักษ์น้ำ” วันนี้ (22 มี.ค.67) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “วันน้ำโลก” ประจำปี พ.ศ.2567 โดยมี ดร. สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ให้การต้อนรับ โดยปีนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้จัดงานภายใต้แนวคิด “เพราะน้ำคือชีวิต” มาร่วมมือกันดูแลน้ำอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ให้กับโลก สอดรับนโยบายขององค์การสหประชาชาติ “Leveraging Water for Peace” หรือ “น้ำเพื่อสันติภาพ” พร้อมเปิดฉายวิดีทัศน์การแถลงสารจากนายกรัฐมนตรี...
อ่านต่อเรื่อง รับสมัครตำแหน่ง Communication Officer for Outreach ครั้งที่2
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลางภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง MRCS มีความประสงค์รับสมัครงานตำแหน่ง Communication Officer for Outreach ปฏิบัติงาน ณ MRCS เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีรายละเอียดงาน (Job description) และหลักเกณฑ์การรับสมัครสามารถดูรายละเอียดได้ ดังนี้ Communication Officer for Outreach: Job description (https://bit.ly/3tokqup) คุณสมบัติผู้สมัคร เอกสารประกอบการสมัคร ค่าตอบแทน ค่าตอบแทนต่อปี จำนวน US$ 33,440 ขั้นตอนการสมัคร 1. กรอกข้อมูลสมัครทางเว็บไซต์ (https://shorturl.at/bhtG4) 2. ส่ง...
อ่านต่อรองนายกฯ สมศักดิ์ มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้ชาวเชียงราย
เร่งขยายระบบประปา – พัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติ หนองหลวงและหนองฮ่าง รองนายกฯ สมศักดิ์ ลงพื้นที่ จ.เชียงราย ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปา เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ พร้อมติดตามการพัฒนาฟื้นฟูหนองหลวงและหนองฮ่าง พื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติ ให้มีระบบนิเวศสมบูรณ์และใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างสมดุลและยั่งยืน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและความก้าวหน้าโครงการด้านทรัพยากรน้ำ ณ จ.เชียงราย พร้อมด้วย นายชยันต์ เมืองสง และ นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วานนี้ (18 มี.ค. 67) โดยได้รับฟังการบรรยายความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ.สาขาแม่สาย – (ห้วยไคร้) – (แม่จัน) –...
อ่านต่อน้ำสะอาดจากคนดอยสู่คนเมือง
สลิลธาราอารัญ “โอ๊ะมื่อโชเปอ ….เนอะ โอ๋ ชู่ อะ” คือภาษากะเหรี่ยงแปลเป็นไทยว่า “สวัสดี….คุณสบายดีมั้ย” บทความตอนนี้ขึ้นด้วยคำทักทายน่ารักๆ จากชาวกะเหรี่ยงเพราะจะพูดถึงชีวิตของพี่น้องชาวเขาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัด “แม่ฮ่องสอน” ที่มีฉายา “เมืองสามหมอก” เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศจึงมีหมอกปกคลุมตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์อีกด้วย ทำให้เกิดความสงสัยว่าจังหวัดที่มีความหลากหลายแบบนี้เค้าบริหารจัดการเรื่องน้ำสะอาดสำหรับประชาชนกันอย่างไร ลักษณะของแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่เฉพาะที่มีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร และใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ดังนั้น การพัฒนาแหล่งน้ำทั้งระบบจะต้องศึกษาบริบทของแต่ละพื้นที่เพื่อวางแผนพัฒนาโครงการเฉพาะเป็นรายพื้นที่ ที่ให้สอดคล้องกับศักยภาพและภูมิสังคมด้วย ระบบประปาที่ใช้ในพื้นที่ภูเขาสูงเช่นนี้ เรียกว่า “ระบบประปาภูเขา”ระบบประปาภูเขาจะใช้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีต้นน้ำเป็นลำธารน้อยใหญ่อยู่บนภูเขา มีการส่งกระจายน้ำผ่านท่อน้ำขนาดต่างๆ ไปกักเก็บไว้ที่ถังเก็บน้ำของแต่ละชุมชน เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนครัวเรือนในพื้นที่ สำหรับเรื่องคุณภาพน้ำนั้น ส่วนใหญ่ยังเป็นระบบการกรองแบบง่ายๆ เช่น ใช้สารส้มหรือทิ้งให้ตกตะกอนก่อนส่งต่อสู่ครัวเรือน เนื่องจากน้ำจากแหล่งต้นน้ำบนเขามีความสะอาดมาก บางพื้นที่ก็ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมควบคุมมลพิษด้วยแล้ว อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐก็จะต้องมีการพัฒนาเรื่องคุณภาพน้ำสำหรับพื้นที่ประปาภูเขาเช่นนี้...
อ่านต่อประวัติศาสตร์เราต้องเปลี่ยน
เริ่มต้นจากชื่อเรื่องหลายๆคนคงนึกถึงนักร้องสาวสวยยุค 90 ที่มีดีกรีผ่านเวทีประกวดนางสาวไทยมาด้วย เพลงของเธอก็เป็นที่นิยมหลายเพลงเพราะทั้งเนื้อเพลงที่ไพเราะประกอบจังหวะดนตรีน้ำเสียงและความสวยเซ็กส์ซี่ของนักร้องด้วยแล้ว เรียกได้ว่าเป็นราชินีเพลงป้อปในยุคนั้นเลยทีเดียวหากใครได้ชมคอนเสิร์ตของเธอรับรองเป็นอันต้องติดใจ ลองมาฟังท่อนฮุคกันสักนิดเผื่อจะนึกออก “ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยน เปลี่ยนไปเป็นฉันและเธอ เท่าเทียมกัน“ สิ่งที่นักร้องต้องการสื่อคงสารคงเข้าใจตรงกันนะว่า…สิ่งไหนที่ผ่านมาแล้วมันไม่ดีก็เปลี่ยนเสีย อย่าทำอีก อย่าให้เกิดขึ้นอีก ไม่ใช่ว่าเราจะย้อนเวลาไปเปลี่ยนอดีตได้ถ้าจะย้อนเวลาไปเปลี่ยนอดีตคงต้องนั่งไทม์แมชชีนของโดราเอม่อนกลับไปหรือผ่านกระจกทวิภพของทมยันตีย้อนยุคกันไปเลยทีเดียว แต่นั่นมันแค่ในละคร กลับมาในโลกแห่งความจริงกันหน่อย เมื่อเร็วๆนี้พี่น้องชาวภาคใต้ของเราประสบกับมหาอุทกภัยโดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาสจากฝนตกหนักรวมกัน 3 วันเป็นปริมาณมากกว่า 700 มิลลิเมตร เฉลี่ยวันละ 2-300 มิลลิเมตรกันเลยทีเดียว ฝนเล่นตกปริมาณมากๆต่อเนื่องกันแบบนี้ ทั้งดินที่ราบเชิงเขาก็อุ้มน้ำไม่อยู่ส่งผลให้ดินโคลนถล่ม ศักยภาพของแม่น้ำที่รองรับน้ำท่าที่ไหลมารวมกันในลุ่มน้ำก็รับไม่ไหวเช่นกัน น้ำในแม่น้ำก็เลยเอ่อท่วมล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ชุมชน อีกส่วนหนึ่งก็มาจากน้ำป่าไหลหลาก ทำให้พี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินกันพอควร อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนในการทำงานของพวกเราที่ควรนำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำอีก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติในฐานะพี่ใหญ่ในการบูรณาการบริหารจัดการน้ำจึงเห็นความจำเป็นต้องถอดบทเรียนมหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในครั้งนี้ เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังเกิดภัย ก่อนเกิดภัยพี่น้องประชาชนมีความจำเป็นต้องทราบแนวโน้มสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยง...
อ่านต่อ